วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารเสริมประเภทต่างๆสำหรับเด็ก

ข้าว แป้งอาหารเสิรมชนิดแรกของเด็ก คือ แป้ง อาหารประเภทแป้งเป็นอาหารที่นุ่ม ไม่เป็นกาการะคาย สามารถเตรียมได้ให้มีลักษณะคล้ายนม ความข้น ความเหลวควรจะให้เหมาะกับวัยของเด็ก อาหารแป้งที่ให้เด็กจะใช้ข้าว แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม แป้งสาลี สาคูเม็ดเล็ก

ผัก
เด็กควรจะได้เริ่มหัดกินผักเมื่ออายุ 3 เดือน คือพร้อมๆกับเนื้อ โดยต้มให้เปื่อย บดหรือยี ควรให้วันละ 1 ครั้งก่อน ผักแต่ละอย่างที่ให้เด็กควรจะให้ซ้ำกัน 4-5 วันจึงเปลี่ยนเป็นผักชนิดใหม่ เพื่อให้เด็กชินกับการกินผักชนิดนั้นก่อน เพื่อให้เด็กกินผักเป็นทุกชนิดเพราะผักแต่ละอย่างมีความมากน้อยในวิตามิน เกลือแร่ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตต่างกัน

เมื่อเด็กกินผักแล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่นเป็นผื่น บวมแดงบริเวณก้น ท้องเสีย อาการเช่นนี้จะเกิดทันทีหลังจากกินผักนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรจะหยุดป้อนผักชนิดนั้นก่อน ค่อยเริ่มใหม่ในเดือนต่อไป หรือทิ้งระยะสัก 2 เดือนจึงเริ่มใหม่

การทำผักให้เด็กอายุ 3 เดือน ผักที่ให้ควรต้องต้มให้เปื่อย บดหรือยีให้ละเอียด เลือกผักที่กากน้อย เช่นใบผักโขม มันเทศ ใบผักบุ้ง ใบตำลึง ฟักทอง มันฝรั่ง วิธีทำอาหารผักให้เด็กเล็กๆง่าย ก่อนอื่นต้องเลือกผักที่สด ใหม่ ไม่แก่ ล้างให้สะอาด แล้วต้มใช้หม้อเล็กๆปิดฝาต้ม เคี่ยวให้ผักเปื่อยเป็นใช้ได้ ไม่ควรใส่น้ำมาก และควรจะใช้น้ำต้มผักนั้นด้วย เพราะเกลือแร่และวิตามินจะอยู่ในน้ำต้มผักนั้นด้วย เติมเกลือเพียงเล็กน้อยลงในผักที่ต้ม

กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี เพื่อความแน่ใจว่าเด็กจะไม่ท้องอืด เพราะผักประเภทนี้เมื่อกินแล้วจะทำให้เกิดแก๊ซได้ อาจทำให้เด็กท้องอืด เสียดท้องได้ ผักประเภทนี้ ควรจะให้เมื่อเด็กอายุ 9 เดือนหรือ 1 ขวบขึ้นไป ผักประเภทหัวและราก เช่น ไชเท้า แครอท หอมหัวใหญ่ บวบ ถั่วงอกและผักอื่นๆควรจะเริ่มให้เด็กเมื่ออายุ 3-4 ขวบขึ้นไป เด็กเมื่อโตขึ้นย่อมมีความรู้สึกเรื่องรสและกลิ่นดีขึ้นเป็นลำดับ นอกจากเด็กจะมีความรู้สึกเรื่องรสแล้ว ยังมีความรู้ในเรื่องกลิ่น ฉะนั้นในการเลือกผักทำอาหารให้เด็กต้องดูวัยของเด็ก เปลี่ยนแปลงวิธีการหุงต้มผักตามวัยของเด็ก เช่น จากผักบดเป็นต้มเปื่อย เป็นอบ เป็นผัด และให้เด็กได้หัดกินผักสดบ้างเมื่ออายุ 3 ขวบขึ้นไป เริ่มทดลองให้กินผักที่มีรสหวาน เช่น แตงกวา มะเขือเทศ

ครั้งแรกเมื่อให้ผักแก่เด็ก ควรเริ่มจากผักใบเขียว เช่น ใบตำลึง ใบผักบุ้ง ผักโขม โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ช้อนชา แล้วจึงค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็น 2 ช้อนโต๊ะ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 1/4 ถ้วย การให้อาหารประเภทผักควรจะเริ่มให้ในมื้อบ่ายหรือเที่ยงก่อน โดยผสมกับข้าวและเนื้อสัตว์ต่างๆ ต่อมาจึงเพิ่มให้มื้อเย็นอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เมื่อเด็กกินอาหารทั้ง 3 มื้อ มือ้เช้าควรจะเป็นน้ำผลไม้ ผลไม้สด มื้อกลางวันและมื้อเย็นควรจะให้ทั้งผักใบเขียวและผักสีเหลือง

ผักที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรเลือกผักที่สดและใหม่ และควรเป็นผักที่หาได้ในท้องถิ่น ล้างผักให้สะอาดโดยใช้น้ำมากๆ ล้างหลายๆครั้งก่อนที่จะทำเป็นอาหารให้เด็ก

เนื้อสัตว์เนื้อแลไก่ควรจะเริ่มให้เมื่อเด็กอายุ 3 เดือน เนื้อและไก่เป็นอาหารที่ให้สารอาหารโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง ฉลาด เนื้อและไก่ที่ให้เด็กควรเลือกส่วนที่ไม่มีไขมัน ถ้าเป็นไก่ควรจะเอาหนังออก เริ่มแรกในการให้อาหารประเภทนี้แก่เด็ก ควรจะใช้วิธีต้ม อบ ตุ๋น แล้วจึงบดหรือสับให้ละเอียด การเริ่มให้อาหารประเภทเนื้อ ควรให้ตอนมื้อเที่ยงโดยเริ่มจาก 2-3 ช้อนชาก่อน โดยผสมกับข้าวบดผักบด

การทำอาหารประเทภเนื้อ สำหรับเด็กเล็กไม่ควรใช้เครื่องเทศ ผงชูรส หรือสารเคมีต่างๆที่ช่วยในการเปื่อย ให้เปื่อยโดยวิธีต้มเคี่ยว แล้วจึงบดหรือสับให้ละเอียด ในการทำแต่ละครั้ง ไม่ควรทำไว้มากเกินที่ป้อนใน 1 วันหรืออย่างมากได้เพียง 2 วัน เมื่อเหลือเก็บส่วนที่เหลือในกล่องปิดฝาให้แน่นใส่ตู้เย็น เมื่อจะใช้จึงอุ่น

การเลือกเนื้อไก่ควรเลือกไก่อ่อน ไก่อ่อนจะมีสีขาวเนื้อจะนุ่ม ถ้าไก่แก่เนื้อจะหยาบ เนื้อควรเลือกเนื้อสันในหรือเนื้อส่วนตะโพก หมูก็ควรใช้หมูที่ไม่ติดมันเลือกใช้แต่หมูเนื้อแดง

ตับตับเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้ทั้งอาหาร โปรตีนและธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังให้วิตามินเอ ไรโบเฟลวิน และไนอาซีน ตับที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรจะใช้ตับไก่ ตับหมู เลือกตับที่ไม่ขม ควรทำตับให้เด็ก ทำเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์อื่นๆและให้เมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือน เช่นเดียวกับเนื้อ

ไข่
เด็กอายุประมาณ 3-4 เดือน ควรจะเริ่มให้ไข่แดงลวกยางมะตูม โดยเริ่ม 1 ช้อนชาก่อนแล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 1 ฟองไข่แดง ส่วนใหญ่จะเริ่มให้ไข่ทั้งฟองเมื่อเด็กอายุ 10 เดือนขึ้นไป โดยให้ไข่ต้มยางมะตูมยีผสมกับข้าวต้มเปื่อย ถ้าเด็กกินแล้วไม่เกิดอาการผื่นคัน อาเจียน ก็ควรจะให้ต่อไปอย่างน้อยเด็กอายุระหว่าง 10 เดือน ถึง 2 ขวบ ควรจะให้กินไข่อาทิตย์ละ 5 ฟอง

ปลา
ควรให้เด็กกินปลาเมื่ออายุ 10 เดือน ตามปกติเด็กจะชอบปลา เพราะเนื้อปลาส่วนใหญ่จะนุ่ม รสหวาน ไม่ต้องเคี้ยวมาก ปลาให้สารอาหารประเภทโปรตีนและให้ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรงเจริญเติบโต เพราะแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้จะทำงานร่วมกัน หน้าที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ในวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการแร่ธาตุนี้มากที่สุด ปลาที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรเลือกปลาที่มีเนื้อมาก ไม่มีไขมัน สด ใหม่ เช่น ปลานิล ปลาสำลี ปลาตาเดียว ปลากะพง เป็นต้น การทำอาหารปลาสำหรับเด็ก ใช้วิธี นึ่ง อบ ต้ม ย่างหรือทอดก็ได้ แต่ต้องเอาก้างออกให้หมดโดยใช้นิ้วมือบี้ การใช้มือบี้จะช่วยให้ปลอดภัยและแน่ใจว่าไม่มีก้างติด

ผลไม้สดเด็กอายุ 3 เดือน ควรจะเริ่มให้กินกล้วยสุกครูดเอาแต่เนื้อกล้วยแล้วจึงบด เริ่ม 1 ช้อนชา แล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควรจะให้ในช่วง 10 โมง หรือบ่าย นอกจากกล้วยผลไม้สุกอื่นๆเช่นมะละกอสุก ฝรั่งสุก มะม่วงสุก ถ้าต้มเปื่อยหรือตุ๋นแล้วบดหรือยีให้เด็กก็ได้ เปลี่ยนจากกล้วยเป็นมะละกอตุ๋น ฝรั่งสุกตุ๋น แล้วบด

เด็กอายุ 8 เดือน ควรจะได้เริ่มกินผลไม้สด เลือกผลไม้ที่มีรสหวาน หัดให้เด็กหยิบใส่ปากเอง ใช้ผลไม้สุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอคำ ผลไม้ที่ใช้ได้ เช่น มะละกอสุก ฝรั่งสุก แตงไทย องุ่น ลอกเปลือกออกเอาเมล็ดออกไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะทำเลอะเทอะ เมื่อป้อนเสร็จจึงค่อยทำความสะอาด

น้ำผลไม้น้ำผลไม้จะให้เมื่อเด็กอายุ 4 เดือน ควรจะให้น้ำผลไม้ที่คั้นจากผลไม้สด ถ้าจะใช้น้ำผลไม้กระป๋องหรือขวด จะต้องเลือกชนิดที่เป็นของเด็ก ซึ่งจะมีสลากบอกข้างขวดหรือกระป๋องว่าใช้สำหรับเด็กได้ เราต้องการให้เด็กได้วิตามินซี จึงให้น้ำผลไม้แก่เด็ก น้ำผลไม้ที่ให้เด็กอายุ 4 เดือน ควรจะใส่ขวดให้ดูด ให้ 1 ออนซ์แล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 3-4 ออนซ์ น้ำส้มคั้นใช้ส้มเกลี้ยง ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง ล้างเปลือกเช็ดให้แห้งแล้วจึงผ่า มือและเล็บผู้คั้นควรจะสะอาด เมื่อให้ครั้งแรกควรจะให้ครึ่งผลก่อน ครั้งแล้วกรองผสมน้ำสุก ใช้น้ำส้ม 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กอายุ 5 เดือนเพิ่มเป็น 3-4 ออนซ์ โดยไม่ต้องผสมน้ำและกรอง

เมื่อเด็กอายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรจะเริ่มหัดให้เด็กได้ดื่มน้ำผลไม้จากแก้ว เด็กต้องการวิตามินซีวันละ 4 มิลลิกรัม แต่ต้องการทุกๆวัน น้ำส้ม 3 ออนซ์ ให้วิตามินซีถึง 50 มิลลิกรัม

เครื่องดื่ม
เมื่อเด็กอายุ 1 ขวบ เขาควรจะได้ดื่มเครื่องดื่มเป็นของว่างแทนน้ำผลไม้ หรือนมบ้างในบางมื้อ เป็นการฝึกนิสัยในการกินที่ดีให้กับเด็ก เด็กจะได้เป็นคนไม่เลือกอาหาร เครื่องดื่มที่เราควรจะให้เด็กเราต้องคำนึงถึงสารอาหารที่เด็กจะได้รับ เพราะเมื่อเด็กดื่มแล้วอาจจะอิ่ม ทำให้กินอาหารได้น้อยลง เครื่องดื่มสำหรับเด็กจึงควรให้สารอาหารโปรตีนด้วย เลือกเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมอยู่ในส่วนผสมของเครื่องดื่มนั้นๆ และควรทำเองดีกว่าที่จะซื้อชนิดบรรจุกระป๋องหรือขวด เพราะอาจจะหวานมากไปสำหรับเด็กและเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องหรือขวดมักใส่ยากันบูดไม่เหมาะให้เด็กดื่ม ส่วนผสมของเครื่องดื่มควรเลือกผลไม้สดใหม่ และมีในฤดูกาล ไม่หวานจัด เช่นผลไม้ปั่น กล้วยผสมนม น้ำส้มกับไอศกรีม

อาหารบริหารฟัน
เด็กเมื่อฟันขึ้น ควรให้ขนมประเภทที่ออกแรงขบเคี้ยวให้เด็กถือหรือป้อนเอง แต่ขนมควรจะเป็นชนิดที่ละลายได้ในปาก เคี้ยวขาดง่ายสำหรับวัยของเขา เช่น บิสกิต ขนมปังแท่ง คุกกี้ ขนมผิง ทองม้วน ครั้งแรกบิเป็นชิ้นเล็กๆวางไว้ในจานให้เขาหยิบเอง แล้วจึงให้เป็นชิ้นเมื่อเขาชินและเข้าใจถึงวิธีการป้อนขนมด้วยตนเอง เมื่อเริ่มให้ถ้าให้ชิ้นใหญ่เดี๋ยวเด็กอาจจะใส่ปากทั้งอันอาจสำลักแล้วเข็ดไม่กล้ากินอีกต่อไป

เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป ควรจะได้เปลี่ยนนมเป็นนมแบบผู้ใหญ่ดื่ม และควรจะได้กินอาหาร 3 มื้อ นมเป็นเพียงอาหารเสริมระหว่างมื้อ เมื่อเด็กอายุครบ 1 ขวบ ต้องพยายามให้เด็กกินอาหาร 3 มื้อให้ได้ เพื่อที่จะให้เด็กได้สารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เปลี่ยนลักษณะของอาหารให้เหมาะกับความเจริญเติบโตของเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น