ในช่วงระยะ 2 ปีแรกของชีวิต นมเป็นแหล่งโภชนาการที่สำคัญที่สุดของทารก ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเด็กทารกต่างมีความเห็นตรงกันว่าน้ำนมแม่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอ และเป็นที่น่าชื่นใจว่า จำนวนมารดาในประเทศแถบเอเชีย หันมาเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีมารดาที่เพิ่งให้กำเนิดทารกเป็นจำนวนมากทีเดียว ที่ยังเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม ทั้งที่ใช้เป็นนมเสริม และทั้งที่ใช้แทนนมตนเองโดยสิ้นเชิง ดังนั้น เราจึงขอแนะแนวทางตรวจสอบที่สำคัญๆ เพื่อจะได้สร้างความมั่นใจว่านมผสมที่ใช้เลี้ยงทารกนั้น มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเพียงพอ และที่มีความสำคัญพอๆ กัน ก็คือ นมผสมที่เตรียมสำหรับเลี้ยงทารกนั้น จะต้องปลอดภัยและปราศจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์อย่างเช่นบักเตรี นมจากเต้าดีที่สุด... นมแม่เป็นอาหารสำหรับทารกแรกเกิดที่ดีที่สุดเสมอ ข้อนี้มิต้องสงสัยเลย เพราะไม่เพียงแต่จะมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างสมดุลย์, ย่อยง่าย, ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย, สะดวก และไม่ต้องเสียเวลาเตรียมแล้ว นมแม่ยังเป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเจ็บป่วย หรือติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย และยังอาจเป็นประโยชน์กับร่างกายของเด็กคนนั้น เมื่อเขาเติบโตขึ้นด้วย เช่น ร่างกายจะมีการควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี และมีภูมิต้านทานดีกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสม โดยจะเห็นได้จากการเกิดโรคภูมิแพ้จะมีน้อยกว่า ความจริงแล้ว คนเป็นแม่ทุกคนให้นมลูกได้ทั้งนั้น องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่า เด็กทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีอาหารอื่นๆ เลย เป็นเวลา 6 เดือนหลังจากคลอด จากนั้นจึงเริ่มให้อาหารที่ต้องเคี้ยว หรืออาหารบด ส่วนนมแม่ก็ยังแนะนำ ให้เลี้ยงลูกไปอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ขวบ หรือมากกว่า คือเลี้ยงนมแม่ไปพร้อมๆ กับอาหารปกติอื่นๆ ทางเลือกรองลงมา... ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้กระแสการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมาแรงในแถบเอเชีย แต่ในความเป็นจริง ทารกแรกเกิดเพียงไม่ถึงครึ่ง ที่ได้มีโอกาสกินนมแม่จนถึงอายุ 4 เดือน และมากกว่าร้อยละ 80 ได้รับนมแม่จนถึงอายุ 12-15 เดือน ตัวมารดาเองอาจเป็นผู้ตัดสินใจว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองอย่างเดียวนั้นเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุผลหลายประการ – สุขภาพของมารดาหรือทารก, ขาดความช่วยเหลือจากครอบครัว, การทำงาน หรือภาระอื่นบางอย่างที่อาจทำให้ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองทั้งหมด หรือแม้บางส่วนได้ ในกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ที่มารดาซึ่งมีความลำบากดังกล่าว ต้องไปขอความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษา อาจเป็นจากพยาบาล ผู้มีความชำนาญเหล่านี้ อาจสามารถหาทาง ช่วยเหลือเพื่อให้ทารกได้มีโอกาสกินนมแม่ต่อไปได้ ศาสตราจารย์ฟาติมา อาชาด แห่งคณะโภชนาการและการกำหนดอาหาร มหาวิทยาลัยคีบังซาน ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า “วิธีการเลี้ยงลูกทั้งสองแบบไม่ว่าจะใช้นมผสม หรือนมแม่ก็ตาม ต้องมีการสอนให้พ่อแม่เข้าใจ แม้นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาจะเป็นกระบวนการตามธรรมชาติแต่ถ้า คุณแม่มือใหม่ได้รู้รายละเอียดวิธีการทุก ขั้นตอน เธอก็จะมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น” สำหรับคนที่เลือกที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง หรือใช้นมผสมมาช่วยด้วยนั้น คำถามก็คือว่า “แล้วจะใช้นมอะไรดีล่ะ” คำตอบก็คือ ถ้าไม่ใช่นมแม่ รองจากนมแม่ก็ต้องเป็นนมผงเลี้ยงทารกที่เป็นสูตรทางการค้า การที่เราจะผสมนมเพื่อเลี้ยงทารกเองนั้น เป็นสิ่งที่ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง เพราะความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งการเลือกชนิดและการผสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลย์ทางโภชนาการ อันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเด็กทารก นมผสมสูตรเลี้ยงทารก ทำมาจากนมวัวแต่จะถูกดัดแปลงแบบพิเศษ เพื่อให้ใกล้เคียงกับคุณสมบัติของนมแม่มากที่สุด การดัดแปลงนี้จะช่วยให้นมนั้นย่อยง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยต่อการเลี้ยงทารก นมวัวหรือนมแพะที่ไม่มีการดัดแปลงรูป ไม่ควรนำมาเลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนเป็นอันขาด เนื่องจากว่าโปรตีนในนมดังกล่าวนี้ย่อยยาก ยิ่งไปกว่านั้น นมวัวและนมแพะมีปริมาณธาตุเหล็กต่ำมาก และนมแพะยังขาดวิตามินบี 12, โฟเลต และวิตามินดี อีกด้วย การเลือกนมผสมสำหรับเลี้ยงทารกอย่างรอบคอบ ไม่ว่าคุณจะใช้นมผสมดัดแปลงสำหรับเลี้ยงทารกโดยสมบูรณ์แบบ หรือจะใช้แทนนมแม่เป็นบางมื้อก็ตาม นมที่คุณเลือกจะต้องเหมาะสมกับทารกน้อยๆ ของคุณ ถ้าจะสอบถามบุคคลากรทางการแพทย์ หรือพยาบาล ก็เป็นสิ่งที่น่ากระทำในเบื้องต้น นมผงสำหรับเลี้ยงทารก ที่ผลิตจากบริษัทที่น่าเชื่อถือได้ และถ้าจะให้ดีต้องมีรายละเอียดติดต่อกลับได้ด้วย หากเรามีข้อกังวล หรือปัญหา ผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงนั้นจะเคร่งครัดทำตามกฎระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นมที่เขาผลิตนั้น มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างพอเพียง และเป็นสูตรที่ปลอดภัย และพร้อมที่จะรับการสนองตอบจากลูกค้าอย่างแท้จริง นมผงสำหรับเลี้ยงทารกที่ทำจากนมวัว เป็นสูตรที่ดีที่สุดสำหรับทารกส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม จะมีทารกอยู่กลุ่มหนึ่งที่มีความต้องการนมสูตรพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น มีทารกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก จะแพ้โปรตีนจากนมวัว หรืออาจจะไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้ เด็กทารกกลุ่มนี้ต้องเลี้ยงด้วยนมจากถั่วเหลือง หรือนมสูตรดัดแปลงพิเศษ ซึ่งเป็นนมจากวัวแต่มีการดัดแปลงจนเหมือนกับย่อยมาแล้ว อาการที่เป็นตัวบ่งชี้ปฏิกิริยาจากโปรตีนในนมวัว ได้แก่ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เป็นผื่นคัน สำหรับคนที่ไม่สามารถย่อยนมได้ อาการที่พบบ่อย คือ มีแก๊สมาก ท้องป่อง ปวดท้อง และท้องเสีย แต่อย่างไรก็ตาม อย่ารีบด่วนสรุปว่าเป็นอาการแพ้นม เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ อาจเป็นอาการป่วยอย่างอื่นในเด็กก็ได้ ดังนั้น จึงควรพบแพทย์เพื่อความมั่นใจ ทารกเกิดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย อย่างเช่น อาการเฟนิลคีโทนูเรีย (phenylketonuria) ซึ่งทำให้มีสารบางอย่างเป็นพิษตกค้างอยู่ในร่างกาย กุมารแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ จะต้องแนะนำนมผสมสูตรพิเศษโดยเฉพาะให้ การให้อาหารเสริมพิเศษ – ประโยชน์หรือเกินจริง? ฝ่ายผู้ผลิตยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องในการผลิตนมผงสำหรับเลี้ยงทารกให้มีความคล้ายคลึงกับนมแม่มากที่สุด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา งานวิจัยได้มุ่งเน้นการศึกษาเรื่องสารอาหารที่พบในนมแม่ในปริมาณน้อยมากๆ แต่ก็มีบทบาทสำคัญ ที่ทำให้นมแม่เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับทารก นมผสมบางสูตร มีการเสริมด้วยไขมันพิเศษ ซึ่งมีสูตรเคมีเป็นโซ่ยาว เป็นกรดไขมันที่เรียกว่า กรดโดโคซาเฮกซาโนอิค (docosahexanoic acid – DHA) และกรดอราชิโดนิค (arachidonic acid - ARA) เนื่องจากกรดทั้งสองตัวนี้พบในน้ำนมแม่ และพบว่าเป็นประโยชน์ช่วยพัฒนาระบบการมองเห็น และพัฒนาสมองของเด็กทารกได้ในช่วงระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ยังมีนมผสมที่เป็นสูตร “probiotic และ prebiotic” ออกมาสู่ตลาดปรากฎว่ามีการศึกษาพบว่า นมประเภทนี้มีผลช่วยให้การเกิดโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและการเกิดอาหารเป็นพิษและโรคท้องร่วงลดน้อยลง เมื่อเร็วๆ นี้เอง ที่กรุงเดลฮี ประเทศอินเดีย มีการศึกษาพบว่าทารกที่ได้รับนมผสมที่เสริมสารอาหาร จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคท้องร่วง การติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคหัด และโรคโลหิตจาง ทั้งชนิดปานกลางและรุนแรง ดีกว่าทารกที่กินนมผงธรรมดา เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 6 เดือน จะเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงความต้องการสารอาหาร ช่วงนี้จึงเริ่มเพิ่มอาหารแข็งเข้ามา นมยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารอยู่เหมือนเดิม และยังคงแนะนำว่า ควรให้ทารกดูดนมแม่ต่อไป สำหรับเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่นั้น เมื่อถึงอายุนี้ก็ต้องเปลี่ยนนมผสมเช่นกัน นมผสมสำหรับทารกวัยหลัง 6 เดือน จะมีแคลเซียมและธาตุเหล็กสูงขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่กำลังเติบโต นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาอีกเป็นจำนวนมากที่รายงานว่า เด็กวัยเรียนที่ดื่มนมเสริมธาตุเหล็ก จะมีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์กว่า และมีพัฒนาการที่ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการเสริมธาตุเหล็ก สำหรับนมวัวธรรมชาตินั้น ควรจะให้กับเด็กที่มีอายุ ๑ขวบไปแล้ว นมพร่องมันเนย หรือนมสกัดมันเนยนั้นไม่แนะนำให้เลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า ๒ ขวบ เนื่องจากปริมาณของไขมันและพลังงานต่อเด็กทารกที่กำลังเจริญเติบโต ศาสตราจารย์ฟาติมา ได้สรุปไว้ว่า “ ไม่ว่าพ่อแม่จะเลือกวิธีการใดในการเลี้ยงลูกก็ตาม เขาสมควรที่จะได้รับความช่วยเหลือในทุกวิถีทาง คำแนะนำที่เหมาะสม, ข้อมูลที่ถูกต้อง และกำลังใจ จะสามารถช่วยให้มารดาเลือกวิธีการเลี้ยงลูกของตนเองได้เป็นอย่างดี การดูแลอย่างดีที่สุดจากพ่อแม่ ความรู้สึกพึงพอใจ และความผูกพันอันลึกซึ้งระหว่างแม่และลูก เป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญ นมผสมสำหรับทารก- เตรียมอย่างเอาใจใส่ เด็กแรกเกิดแทบจะไม่มีกลไกป้องกันตนเองจากเชื้อโรคได้เลย และต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งจึงจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้ ดังนั้น การเตรียมนมผสม และการเก็บรักษาอย่างถูกสุขอนามัย จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อในเด็ก
|
วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554
เรื่องของนมสำหรับเด็กและทารก
เรื่องของนมสำหรับเด็กและทารกFFA Issue 24, July 2005, "Milk Matters for Babies and Toddlers"
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554
การเจริญเติบโตของเด็กตั้งแต่แรกเกิด-6 ปี
เด็กในวัยทารกและวัยเด็กจะมีพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น พัฒนาการด้านร่างกาย จิต
ใจ อารมณ์และสังคม ตามขั้นตอนที่เป็นแบบแผนและมีทิศทางเฉพาะ ซึ่งการเรียนรู้
พัฒนาการในวัยทารกและวัยเด็ก จะช่วยให้เราสามารถเสริมสร้างพัฒนาการของ เด็กได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นเราจึงควรศึกษาถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย เพื่อ ให้เข้าใจถึงการเจริญเติบโตและสามารถทำกิจกรรม เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ของ เด็กในวัยต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
ใจ อารมณ์และสังคม ตามขั้นตอนที่เป็นแบบแผนและมีทิศทางเฉพาะ ซึ่งการเรียนรู้
พัฒนาการในวัยทารกและวัยเด็ก จะช่วยให้เราสามารถเสริมสร้างพัฒนาการของ เด็กได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นเราจึงควรศึกษาถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย เพื่อ ให้เข้าใจถึงการเจริญเติบโตและสามารถทำกิจกรรม เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ของ เด็กในวัยต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
วัย | เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการ |
เด็กแรกเกิด - 1 ปี | เริ่มใช้ขาพยุงตัวให้ลุกขึ้น และเกาะสิ่งต่าง เพื่อเดิน สามารถเลียนแบบ พฤติกรรมที่พบเห็น และเลียนแบบการใช้ภาษา |
วัย 1 - 3 ปี | ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น ดู สัมผัส ชิมรส ได้ยิน ดมกลิ่น เด็กจะทำ พฤติกรรมซ้ำกันบ่อยๆ ใช้ภาษาที่เป็นคำโดด หรือภาษา 2 คำ ในช่วงอายุ 18-24 เดือน จะเป็นระยะเริ่มคิด จดจำคำศัพท์ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ใน ช่วงอายุ 24-36 เดือน เด็กจะสามารถเปลี่ยนทิศทางในการเดินได้ วัยนี้จึง เป็นวัยสำคัญที่ เด็กจะพัฒนาความเป็นตัวเอง และรู้จักตนเอง |
วัย 3-6 ปี | มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม มีการแบ่งปันของเล่นทั้งเด็ก หญิง และชาย โดยดูวิธีการเล่นที่เพื่อนยอมรับมากที่สุด เด็กวัยนี้จะกระทำ ตาม เพื่อนไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการกระทำ เพื่อให้กลุ่มเพื่อนยอมรับ |
พัฒนาการไม่ได้หยุดนิ่งเพียงแค่ช่วงใดช่วงหนึ่งของการเจริญเติบโตทางร่างกายเท่านั้น แต่พัฒนาการ
จะยังคงมีต่อไปจนตลอดชีวิตของมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วนของร่างกายตามวัย
เนื้อหาสาระ :
การปฏิสนธิ :
การเจริญเติบโต :
- การเจริญเติบโตของมนุษย์
- การเจริญเติบโตของมนุษย์ระยะหลังคลอด
- การเจริญเติบโตของร่างกาย
ในวัยต่างๆ - ลักษณะการเจริญเติบโต
- การเจริญเติบโตของเด็กตั้งแต่แรกเกิด-6ปี
- การเจริญเติบโตพัฒนาของทารก
- การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
พัฒนาการ :
- หลักการพัฒนาการของมนุษย์
- ลักษณะของพัฒนาการ
- พัฒนาการของมนุษย์
- อัตราพัฒนาการส่วนต่างๆ
- ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต :
- เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบ
โตและพัฒนาการในแต่ละวัย - เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบ
โตและพัฒนาการของมนุษย์ - การประเมินภาวะการเจริญเติบ
โตและพัฒนาการของมนุษย์ - การประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์
ส่วนสูง
ความเข้าใจ :
วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554
นิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
นิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งสำคัญที่ครู
ผู้สอนต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เนื่องจากเป็นวิชาบังคับที่เด็กต้องเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา
ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวน หากเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของจำนวน เด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้รู้ค่ารู้จำนวน จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่งคือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง
จากประสบการณ์การเป็นครูปฐมวัยมานาน พบปัญหาด้านการไม่รู้ค่าจำนวนของเด็กอยู่เสมอ จึงได้ศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุและได้สร้างชุดกิจกรรม BBL ( Brain – Based Learning ) พัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย การรู้ค่าจำนวน 1-5 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชุดกิจกรรมและกระบวนการชุดนี้ออกแบบโดยใช้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองเป็นฐานข้อมูล BBL ( Brain – Based Learning ) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และสร้างชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาโดยให้เด็กมีประสบการณ์สำคัญเรื่อง จำนวน และสภาพที่พึงประสงค์ เกี่ยวกับการรู้ค่าจำนวน 1- 5 สนองตอบต่อความสามารถและความถนัดในการใช้สมองที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าของแต่ละบุคคล โดยการฝึกให้ปฏิบัติซ้ำ ๆ ประกอบด้วยกระบวนการใช้กิจกรรม 4 ขั้นตอน
1) ขั้นสร้างความสนใจ กิจกรรมที่ใช้ เพลง, เกม/การเคลื่อนไหวประกอบเพลง,
การเล่นบทบาทสมมติประกอบเพลง
2) ขั้นให้ประสบการณ์ กิจกรรมที่ใช้ การเล่านิทานประกอบภาพ, การนิทานประกอบแผ่นป้ายสำลี, การเล่านิทานประกอบการแสดงท่าทาง
3) ขั้นปฏิบัติงานฝึกทักษะ กิจกรรมที่ใช้ เกมการศึกษา, แบบฝึกทักษะ, หนังสือเล่ม
เล็ก,กิจกรรมศิลปะ
4) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ ( การประเมินพัฒนาการทางสติปัญญา) กิจกรรมที่ใช้แบบประเมินผลการเรียนรู้
ในส่วนของนิทาน จากการศึกษาพบว่า เด็กชอบสื่อประเภทนิทาน และผลจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเด็กชอบนิทานประเภทคำคล้องจอง เพราะมีภาษาและเสียงที่มีคำสัมผัสคล้องจอง ทำให้เด็กเพลิดเพลิน และง่ายต่อการจดจำ นำไปพูดต่อได้
ตัวอย่างนิทานในชุดกิจกรรมที่ 1 ตัวเลขสวัสดี
นิทานเรื่อง ตัวเลขสวัสดี
( ผู้แต่ง นาถศจี สงค์อินทร์ )
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข หนึ่งไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข หนึ่งไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข สองไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข สองไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข สามไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข สามไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข สี่ไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข สี่ไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข ห้าไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข ห้าไง สวัสดี สวัสดี
เรียนรู้เลขหนึ่งถึงห้า ว่าหน้าตาฉันเป็นอย่างนี้
เด็กๆช่วยนับอีกที หนึ่งถึงห้านี้นับพร้อมๆกัน
1…. 2 …. 3 …. 4 …. 5 ….
วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก
ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป
ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ
1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมี
การเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะ
เสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ
เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็น
คำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัย
นี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
วัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนา
ความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้
ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น
ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก
ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป
ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ
1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมี
การเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะ
เสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ
เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็น
คำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัย
นี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
วัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนา
ความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้
ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น
วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554
การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning)
สำหรับเด็กปฐมวัย
ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ แรกเกิดถึง 7 ปี หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่ ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง 2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ
การทำงานของสมอง
สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่ หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์
สมองประกอบด้วย เซลล์สมองจำนวนกว่า 1 แสนล้านเซลล์ ลักษณะของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นเส้นใยสมองแตกแขนงออกมามากมายเป็นพัน ๆ เส้นใยและเชื่อมโยงต่อกับเซลล์สมองอื่น ๆ เส้นใยสมองเหล่านี้เรียกว่า แอกซอน (Axon)และเดนไดรท์ (Dendrite)จุดเชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapses)เส้นใยสมองแอกซอนทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาทไปยังเซลล์สมองที่อยู่ถัดไป ซึ่งเซลล์สมองบางตัวอาจมีเส้นใยสมองแอกซอนสั้นเพื่อติดต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ชิดกัน แต่บางตัวก็มีเส้นใยสมองแอกซอนยาวเพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ห่างออกไป ส่วนเส้นใยสมองเดนไดรท์เป็นเส้นใยสมองที่ยื่นออกไป อีกทางหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณกระแสประสาทจากเซลล์สมองข้างเคียงเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อกับเซลล์สมองตัวอื่น ๆ เซลล์สมองและเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์(Synapses)เชื่อมโยงติดต่อถึงกันเปรียบเสมือนกับการเชื่อมโยงติดต่อกันของสายโทรศัพท์ตามเมืองต่าง ๆ นั้นเอง
จากการทำงานของเซลล์สมองในส่วนต่าง ๆ ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลรอบตัวและสร้างความรู้ขึ้นมาได้นั้นคือ เกิดการคิด กระบวนการคิด และความคิดขึ้นในสมอง หลังเกิดความคิดก็มีการคิดค้นและมีผลผลิตเกิดขึ้น ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมองจำนวนเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา 10 ปีแรก ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
สมองมีหลายส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันแต่ทำงานประสานกัน เช่นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ และรับรู้การเคลื่อนไหว สี รูปร่างเป็นต้น หลายส่วนทำหน้าที่ประสานกันเพื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่ง เช่น การมองเห็นลูกเทนนิสลอยเข้ามา สมองส่วนที่รับรู้การเคลื่อนไหว สี และรูปร่าง สมองจะอยู่ในตำแหน่งแยกห่างจากกันในสมองแต่สมองทำงานร่วมกันเพื่อให้เรามองเห็นภาพได้ จากนั้นสมองหลายส่วนทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงให้เราเรียนรู้และคิดว่าคืออะไร เป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สมองสามารถเรียนรู้กับสถานการณ์หลาย ๆ แบบพร้อม ๆ กันโดยการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น สมองสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกันได้ การทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะระบบการทำงานของสมองที่ซับซ้อน มีหลายชั้นหลายระดับ และทำงานเชื่อมโยงกันเนื่องจากมีเครือข่ายในสมองเชื่อมโยงเซลล์สมองถึงกันหมด เครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้เมื่อถูกสร้างขึ้นแล้ว ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกนานไม่มีสิ้นสุด ช่วยให้สมองสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งในส่วนย่อยและส่วนรวม สามารถคิดค้นหาความหมาย คิดหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้อีกด้วย
นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้ เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว เครียด บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข คับข้องใจ ครูอารมณ์เสีย ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ครูดุ ขณะที่เด็กเกิดความเครียด สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เรียกว่า คอร์ติโซล (Cortisol) จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้ ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้ แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต
การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมองและการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา สมองซีกซ้ายควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ ในขณะที่สมองซีกขวาเป็นด้านศิลปะ จินตนาการ ดนตรี ระยะ/มิติ หากครูสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมองทั้งสองซีกเข้าด้วยกันให้สมองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกัน ผู้เรียนจะสามารถสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลผสมผสานในผลงานชิ้นเดียวกัน
หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้
1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ หรือพวกนักกีฬาต่างๆ
2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง การอ่านและการเขียน เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น
3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เรียนรู้ขนาด ปริมาณ การเพิ่มขึ้นลดลง การใช้ตัวเลข
4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ ขนาดตำแหน่ง และการมองเห็น สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
5. ดนตรีและจังหวะ ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี
6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา
7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม
8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554
คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
แนวคิดทฤษฎีและหลักการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้พื้นฐานในคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การเลือกและการจัดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การฝึกฝนปฏิบัติการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครูและผู้ปกครองกับการจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
e-learning : http://tcu.npru.ac.th/
จุดประสงค์ของวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. สามารถอธิบายเทคนิคการสอน การเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดจนสามารถจัดกิจกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
3. ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หัวข้อวิชา (course outline)
1. แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
3. บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
4. เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
6. การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)
7. ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
8. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
9. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน
10. การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน
11. การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
12. การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน
13. การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
14. การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
15. การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนและการสอน ประกอบด้วย
1. การบรรยายในชั่วโมงเรียนโดยใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานที่สามารถค้นคว้าต่อได้
2. ให้นักศึกษาจัดทำแฟ้มบันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกห้องเรียน หลังการเรียนในแต่ละหัวข้อวิชา โดยอาจารย์ผู้สอนจะติดตามอ่านแฟ้มบันทึกการเรียนรู้ เพื่อติดตามและทราบพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
3. ให้นักศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาด้วยการทดลองปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์
4. ให้นักศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน จากตำรา เอกสารประกอบการสอน และ web sites ต่างๆ
อุปกรณ์สื่อการสอน ได้แก่
1. เครื่อง LCD projector และ คอมพิวเตอร์
2. ตำรา และ เอกสารประกอบการสอน
3. web sites : http://tcu.npru.ac.th/ และ http://pathomwai.pantown.com/
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย
1. บันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน 10 %
2. การปฏิบัติงานระหว่างภาคเรียน 60 %
3. สอบปลายภาค 30 %
ระยะเวลาการศึกษา
สัปดาห์ที่ 1
- แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
สัปดาห์ที่ 2
- บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 3
- เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)
สัปดาห์ที่ 4
- ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 5
- การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน
สัปดาห์ที่ 6
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน (1)
สัปดาห์ที่ 7
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 8
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (1)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 9
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 10
- การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
- ปฏิบัติการบันทึกเสียงด้วยคอมพิวเตอร์
สัปดาห์ที่ 11
- การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (1)
สัปดาห์ที่ 12
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 13
- สอบปฏิบัติรอบแรก
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 14
- สอบปฏิบัติรอบสอง
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 15
- การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็ก
- ส่งงานนำเสนอกลุ่มและส่งข้อสอบข้อเขียน
หมายเหตุ
- ไม่เกินสัปดาห์ที่ 16 ส่งงานนำเสนอเดี่ยวขึ้นเว็บส่วนตัว
e-learning : http://tcu.npru.ac.th/
จุดประสงค์ของวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. สามารถอธิบายเทคนิคการสอน การเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดจนสามารถจัดกิจกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
3. ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หัวข้อวิชา (course outline)
1. แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
3. บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
4. เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
6. การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)
7. ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
8. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
9. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน
10. การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน
11. การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
12. การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน
13. การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
14. การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
15. การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนและการสอน ประกอบด้วย
1. การบรรยายในชั่วโมงเรียนโดยใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานที่สามารถค้นคว้าต่อได้
2. ให้นักศึกษาจัดทำแฟ้มบันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกห้องเรียน หลังการเรียนในแต่ละหัวข้อวิชา โดยอาจารย์ผู้สอนจะติดตามอ่านแฟ้มบันทึกการเรียนรู้ เพื่อติดตามและทราบพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
3. ให้นักศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาด้วยการทดลองปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์
4. ให้นักศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน จากตำรา เอกสารประกอบการสอน และ web sites ต่างๆ
อุปกรณ์สื่อการสอน ได้แก่
1. เครื่อง LCD projector และ คอมพิวเตอร์
2. ตำรา และ เอกสารประกอบการสอน
3. web sites : http://tcu.npru.ac.th/ และ http://pathomwai.pantown.com/
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย
1. บันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน 10 %
2. การปฏิบัติงานระหว่างภาคเรียน 60 %
3. สอบปลายภาค 30 %
ระยะเวลาการศึกษา
สัปดาห์ที่ 1
- แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
สัปดาห์ที่ 2
- บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 3
- เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)
สัปดาห์ที่ 4
- ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 5
- การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน
สัปดาห์ที่ 6
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน (1)
สัปดาห์ที่ 7
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 8
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (1)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 9
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 10
- การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
- ปฏิบัติการบันทึกเสียงด้วยคอมพิวเตอร์
สัปดาห์ที่ 11
- การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (1)
สัปดาห์ที่ 12
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 13
- สอบปฏิบัติรอบแรก
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 14
- สอบปฏิบัติรอบสอง
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 15
- การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็ก
- ส่งงานนำเสนอกลุ่มและส่งข้อสอบข้อเขียน
หมายเหตุ
- ไม่เกินสัปดาห์ที่ 16 ส่งงานนำเสนอเดี่ยวขึ้นเว็บส่วนตัว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)