นิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งสำคัญที่ครู
ผู้สอนต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เนื่องจากเป็นวิชาบังคับที่เด็กต้องเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา
ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวน หากเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของจำนวน เด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้รู้ค่ารู้จำนวน จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่งคือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง
จากประสบการณ์การเป็นครูปฐมวัยมานาน พบปัญหาด้านการไม่รู้ค่าจำนวนของเด็กอยู่เสมอ จึงได้ศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุและได้สร้างชุดกิจกรรม BBL ( Brain – Based Learning ) พัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย การรู้ค่าจำนวน 1-5 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชุดกิจกรรมและกระบวนการชุดนี้ออกแบบโดยใช้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองเป็นฐานข้อมูล BBL ( Brain – Based Learning ) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และสร้างชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาโดยให้เด็กมีประสบการณ์สำคัญเรื่อง จำนวน และสภาพที่พึงประสงค์ เกี่ยวกับการรู้ค่าจำนวน 1- 5 สนองตอบต่อความสามารถและความถนัดในการใช้สมองที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าของแต่ละบุคคล โดยการฝึกให้ปฏิบัติซ้ำ ๆ ประกอบด้วยกระบวนการใช้กิจกรรม 4 ขั้นตอน
1) ขั้นสร้างความสนใจ กิจกรรมที่ใช้ เพลง, เกม/การเคลื่อนไหวประกอบเพลง,
การเล่นบทบาทสมมติประกอบเพลง
2) ขั้นให้ประสบการณ์ กิจกรรมที่ใช้ การเล่านิทานประกอบภาพ, การนิทานประกอบแผ่นป้ายสำลี, การเล่านิทานประกอบการแสดงท่าทาง
3) ขั้นปฏิบัติงานฝึกทักษะ กิจกรรมที่ใช้ เกมการศึกษา, แบบฝึกทักษะ, หนังสือเล่ม
เล็ก,กิจกรรมศิลปะ
4) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ ( การประเมินพัฒนาการทางสติปัญญา) กิจกรรมที่ใช้แบบประเมินผลการเรียนรู้
ในส่วนของนิทาน จากการศึกษาพบว่า เด็กชอบสื่อประเภทนิทาน และผลจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเด็กชอบนิทานประเภทคำคล้องจอง เพราะมีภาษาและเสียงที่มีคำสัมผัสคล้องจอง ทำให้เด็กเพลิดเพลิน และง่ายต่อการจดจำ นำไปพูดต่อได้
ตัวอย่างนิทานในชุดกิจกรรมที่ 1 ตัวเลขสวัสดี
นิทานเรื่อง ตัวเลขสวัสดี
( ผู้แต่ง นาถศจี สงค์อินทร์ )
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข หนึ่งไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข หนึ่งไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข สองไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข สองไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข สามไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข สามไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข สี่ไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข สี่ไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข ห้าไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข ห้าไง สวัสดี สวัสดี
เรียนรู้เลขหนึ่งถึงห้า ว่าหน้าตาฉันเป็นอย่างนี้
เด็กๆช่วยนับอีกที หนึ่งถึงห้านี้นับพร้อมๆกัน
1…. 2 …. 3 …. 4 …. 5 ….
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น