วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาการนอนเป็นเรื่องธรรมดา

ปัญหาการนอนเป็นเรื่องธรรมดา

ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณควรนอนประมาณ 11 ชั่วโมงต่อคืน บวกกับการงีบอีกหนึ่งชั่วโมงครึ่งในช่วงบ่าย หากทำได้เช่นนั้น ถือว่าเป็นการนอนหลับที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่คุณแม่ย่อมทราบดีว่าเด็กๆ ไม่ได้ถูกตั้งโปรแกรมมาเหมือนหุ่นยนต์ และเด็กแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ มีลูกน้อยวัยหัดเดินหลายคนที่มีปัญหาเรื่องการนอน โดยที่ลูกน้อยวัยหัดเดินจำนวน 1 ใน 5 คนนอนยากหรือตื่นบ่อยในตอนกลางคืน และมีหลายคนที่ตื่นเช้าเกินไป

อะไรที่เป็นสาเหตุของปัญหาการนอน

ไม่มีกฎตายตัวว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหาการนอน แต่มีบ่อยครั้งที่คุณแม่สามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

อาหาร ลูกน้อยวัยหัดเดินที่เคยชินกับการทานตามความต้องการจะทานน้อยและทานบ่อย ซึ่งหมายความว่าลูกไม่เคยชินกับการนอนยาว (เช่น ในเวลากลางคืน) โดยไม่มีการทานอาหารเลย

∙   เหนื่อยเกินไป สาเหตุนี้อาจจะฟังดูแปลก แต่ลูกน้อยวัยหัดเดินหลายคนนอนไม่หลับถ้าเหนื่อยเกินไป ดังนั้น คุณควรจัดช่วงเวลาเข้านอนให้เป็นกิจวัตรเพื่อกำหนดเวลาให้ลูกน้อยของคุณเข้านอน และให้พยายามสุดความสามารถที่จะทำตามเวลาดังกล่าวให้ได้

∙   สิ่งปลุกเร้ามากเกินไป ทุกคนต้องการความผ่อนคลายก่อนที่จะเข้านอน ความสนุกสนานและเกมต่างๆ   ก่อนช่วงเวลาเข้านอนสามารถทำให้ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณตาสว่างและนอนไม่หลับ

∙   ไม่สบายตัว ทุกคนต่างก็มีปัญหาในการนอนถ้ารู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป หรือรู้สึกว่าชุดนอนหรือผ้าห่มไม่สบายตัว ไม่เว้นแม้แต่ลูกวัยหัดเดินของคุณ




คุณแม่จะตั้งกิจวัตรเพื่อช่วยให้ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณแม่นอนหลับได้อย่างไร

ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณน่าจะประสบปัญหาน้อยลงในการเข้านอน หากคุณแม่สร้างกิจวัตรประจำวันง่ายๆ ก่อนเข้านอน รวมถึงช่วงเวลาเงียบสงบ 15-20 นาที ในช่วงเวลาพิเศษนี้ คุณแม่สามารถอ่านนิทานให้ลูกน้อยฟัง  อาบน้ำให้ลูกหรือแม้กระทั่งนั่งเฉยๆ แล้วกอดลูกน้อยไว้ก็ได้ ด้วยวิธีเช่นนี้ ลูกน้อยจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องง่ายขึ้นอย่างมากในการนอนหลับเมื่อสิ้นสุดวัน



คุณแม่ต้องแน่ใจว่าลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณสวมเสื้อผ้าที่สบายและอุณหภูมิห้องไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ซึ่งจะช่วยได้มากหากบ้านเงียบและไฟไม่สว่างมาก เพื่อเป็นการสอนลูกน้อยให้รู้จักความแตกต่างระหว่างกลางคืนและกลางวัน สวิตช์ไฟแบบดิมเมอร์ที่ปรับแสงสว่างได้ สามารถช่วยได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับผ้าม่านหนาๆ หรือมู่ลี่ที่จะกั้นไม่ให้ไฟถนนส่องเข้ามารบกวนลูกน้อย
นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้ที่สามารถช่วยได้หากลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณนอนไม่หลับ

∙   คุณแม่ต้องแน่ใจว่าลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณทานอาหารเต็มที่ในระหว่างวัน แต่ต้องไม่ใช่การทานแบบตามความต้องการ นั่นคือ ต้องพยายามให้ลูกน้อยเลิกนิสัยทานน้อยและทานบ่อย หากลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณยังตื่นมาทานนมในตอนกลางคืน คุณแม่อาจค่อยๆ ลองเปลี่ยนจากนมเป็นน้ำแทน ลูกน้อยจะได้ไม่ต้องติดการกินนมก่อนที่จะหลับต่อได้

∙   หากลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณต้องใช้เวลาสักพักในการเข้านอน คุณแม่ต้องใจเย็นและผ่อนคลาย โดยคุณแม่ควรวางลูกลง แล้วปล่อยลูกไว้ในห้อง และถ้าลูกเรียกคุณ ให้รอสัก 5-10 นาทีก่อนที่จะเข้าไปหาลูกน้อย

∙   หากลูกวัยหัดเดินของคุณตื่นตอนกลางดึก ให้ทำแบบเดียวกัน คอยดูให้มีความวุ่นวาย เสียง และแสงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้ววางลูกน้อยลงอย่างนุ่มนวล

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการและการเลี้ยงดู เด็กปฐมวัย

พัฒนาการและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยหมายถึง เด็กในช่วงแรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงทองของชีวิต เนื่องจากเป็นระยะที่ระบบประสาทและสมองของเด็กเจริญเติบโตในอัตรสูงสุด การปลูกฝังและสร้างเสริมพันฒนาการทุกๆ ด้านให้แก่เด็กในวัยนี้ จึงย่อมได้ผลอย่างเต็มศักยภาพ มากกว่าการปลูกฝังและสร้างเสริมในช่วงวัยอื่นๆ
ดังนั้น การให้การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุ จึงมีความสำคัญอย่างมากเพราะจะเป็นรากฐานของการพัฒนาในวัยต่างๆ ต่อไปนั่นเอง
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัย 1-2 ขวบ ด้านร่างกาย
อายุ 10-16 เดือน ฟันซี่ข้างด้านล่างขึ้น 2 ซี่
อายุ 13-19 เดือน ฟันกราม 4 ซี่ชุดแรกขึ้น
อายุ 16-23 เดือน ฟันเขี้ยว 4 ซี่ขึ้น
อายุ 23-31 เดือน ฟันกราม 4 ซี่ชุดที่สองขึ้น
การรับประทาน
ระบบการย่อยอาหารพัฒนาขึ้น คุณแม่เริ่มให้อาหารอย่างอื่นนอกจากนมได้แล้ว
อายุ 12 เดือน อัตราการเจริญเติบโตจะช้า ความอยากอาหารลดน้อยลง
การขับถ่าย
เด็กยังควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระได้ไม่ดีนัก ช่วงอายุ 1 ขวบ คุณแม่อย่าเพิ่งฝึกหัดการขับถ่ายโดยการนั่งกระโถน แม้ว่าเขาจะเรียนรู้การนั่งได้แล้วก็ตาม ควรหัดในช่วง 18 เดือนถึง 2 ขวบ
การนอน
ช่วงนอนหลับตอนกลางวันจะเริ่มสั้นลงและตื่นอยู่ได้นานขึ้น โดยการนอนหลับในเวลากลางวันนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องคาดหวังให้ลูกนอนนานๆ ถ้าลูกของคุณนอนได้วันละ 2 ครั้ง และหลับนานครั้งละประมาณ 20-30 นาที ก็ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของเด็กแล้ว และไม่ควรกักขังเด็กอยู่ในเปลเพื่อจะบังคับให้เขาหลับ แต่ควรจะปล่อยเด็กออกมาเล่น หรือออกกำลังกายข้างนอกจะดีกว่า
ความสามารถในการฟังและการออกเสียง
เด็กอายุ 1 ขวบ เริ่มรู้จักชื่อของตัวเองแล้ว เมื่อถูกเรียกชื่อก็จะหันมองตามเสียงเรียก และสามารถเข้าใจคำพูดสั้นง่ายๆ ที่เป็นคำสั่งประกอบท่าทาง เช่น สั่งให้นอนพร้อมกับตบหมอนประกอบ เด็กก็จะนอนตามคำสั่งได้
ส่วนการออกเสียงนั้น เมื่อเด็กอารมณ์ดีก็จะคุยจ้อด้วยเสียงดัง แต่ยังไม่เป็นคำพูด ฟังไม่เข้าใจ แต่แม่หรือคนเลี้ยงที่คุ้นเคยกับเด็กซึ่งอาจจะเกิดความเข้าใจ
พัฒนาการของกลไกต่างๆ ของร่างกาย
เมื่ออายุ 1 ขวบครึ่ง เด็กจะคุกเข่าหรือนั่งชันเข่าได้โดยไม่ต้องใช้มือค้ำหรือเดินด้วยเข่า โดยใช้มือจับราวหรือกล่องใหญ่ได้โดยไม่ล้ม และจะชอบเล่นของที่ผลัก หรือดึงให้เคลื่อนที่ได้
ในช่วงนี้เด็กเริ่มเดินได้คล่อง สามารถหยุดเดินหรือก้าวเดินต่อได้ดังใจ การก้าวเท้าสัมพันธ์กับการแกว่งแขน เด็กไม่จำเป็นต้องเดินเตาะแตะรักษาสมดุบของร่างกายอีกต่อไป
พัฒนาการของสายตาและการใช้มือ
เด็กสามารถจำคนคุ้นเคยได้ในระยะ 6 เมตร ถ้ามีสิ่งเคลื่อนไหวอยู่ในระยะประตูห้อง เด็กจะจ้องดู และเริ่มดูรูปภาพโดยใช้ความสังเกต
เมื่ออายุ 1 ขวบครึ่ง จะรู้จักชี้ชวนให้มองของที่สะดุดตาในระยะห่างพอสมควร
เด็กสามารถใช้มือถือช้อนได้แต่ยังป้อนใส่ปากไม่เป็น สามารถจับถ้วยได้ด้วยตนเอง รู้จักถือของชิ้นเล็กๆ ได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้วชี้ จับของสองสิ่งกระแทกกันได้ และหัดใช้มือทำงานทีละข้าง
อย่างไรก็ตามเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อส่วนข้อมือได้ดังนั้นเวลาจับของ หรือใช้มือเด็กจะเคลื่อนไหวตลอดทั้งลำแขน
ช่วงอายุ 2 ขวบ จะเป็นระยะที่บอกได้ว่า เด็กถนัดใช้มือซ้ายหรือมือขวา
พัฒนาการทางการเล่นและพัฒนาการทางสังคม
เด็กวัย 1 ขวบ ชอบของเล่นที่มีเสียงเป็นพิเศษ แต่อาจจะสนใจไม่นานแล้วก็โยนทิ้ง และชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ เช่น หยิบโน่นใส่นี่เลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่ เทของออกจากภาชนะได้สามารถหาของจากที่ซ่อนพบ ชอบเล่นตบน้ำเพื่อให้เกิดเสียงดังแปะๆ โบกมือบ๊ายบายได้
ส่วนพัฒนาการทางสังคมนั้นเมื่อพบคนคุ้นหน้าเด็กจะแสดงอาการให้รู้ว่ารู้จัก เช่น ยิ้มเต็มที่จนถึงหัวเราะเอี๊กอ๊าก หรือร้องเอ๋แสดงการทักทาย
อายุ 1 ขวบครึ่ง ชอบเล่นหย่อนของลงกล่องแล้วเทอออก แล้วหย่อนลงไปใหม่กลับไปกลับมา และเมื่อมีของเล่นวางกองไว้บนพื้นบ้านเด็กจะเล่นได้ตามลำพังเป็นเวลานานพอสมควร
ครั้นพออายุ 2 ขวบ เด็กจะเรียกร้องความสนใจจากแม่บ่อยขึ้น ถือเป็นระยะติดแม่ และรู้จักดื้อและแสดงอาการฉุนเฉียวเมื่อมีความรู้สึกไม่พอใจ
อายุ 1 ขวบ 3 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันหัดได้ หัดเยอรมัน และคางทูม
อายุ 1 ขวบ 6 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (HIB) โปลิโอและคอตีบ
อายุ 2 ขวบ ฉีดป้องกันไทฟอยด์ 2 ครั้งเท่ากัน 4 อาทิตย์
บทบาทของบิดามารดาและพี่เลี้ยง
พ่อแม่ควรสนับสนุนให้เด็กวัยนี้ได้เคลื่อนไหวและสนองความอยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ โดยจัดสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจค้นหาได้ตามต้องการอย่างปลอดภัย หรืออาจพาไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ โดยคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
พร้อมกับร่วมเล่นกับลูกเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ความกระตือรือร้นและความสนุกสนานเพลิดเพลิน และหมั่นคุยกับลูกเพื่อช่วยพัฒนาการใช้ภาษาของลูก
ให้เด็กมีโอกาสได้คุ้นเคยกับบุคคลอื่นๆ ที่ใกล้ชิดในครอบครัว เช่น ญาติผู้ใหญ่
พยายามไม่ถ่ายทอดความกลัวของตนให้เด็ก (เช่น แมลงสาบ จิ้งจก แมงมุมหรืออื่นๆ) เพราะเด็กจะกลัวตามคุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยงโดยอัตโนมัติ
และที่สำคัญต้องอดทนกับพฤติกรรมในขั้นปฏิเสธของเด็ก เช่น เดียวอารมณ์ดี เดี๋ยวอารมณ์ไม่ดี ไม่ยอมทำตามที่ผู้ใหญ่บอกและร้องไห้เกเร เพราะล้วนเป็นสัญลักษณ์ของพัฒนาการ ที่เป็นไปตามปกติของเด็กวัย 1-2 ขวบ

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย

ปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย       
เขียนโดย กัมพล   
A.ภาวะปกติ:




1.เด็กสะอึก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดถึงอายุ4-5เดือนมักเป็นหลังกินนมแก้ไขโดยให้ดูดน้ำหรือนมเร็วเร็วการสะอึกจะน้อยลงแล้วหายไปเอง การสะอึกจะน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นจนหายไปเอง

2.เด็กสำรอกนม,อาเจียน เด็กมักจะมีการสำรอกนมได้บ้างหลังวกินนมประมาณ1 ชม.เป็นนมที่ยังย่อยไม่เสร็จเป็นก้อนเล็กๆปนกับนำนมปริมาณไม่มากซึ่งไม่ใช่ภาวะผิดปกติไม่ต้องวิตกกังวล  แต่ในทารกบางคนอาจมีการอาเจียนหลังกินนมทันทีซึ่งมีหลายสาเหตุ คือ 1 กินนมมากเกินไป เช่นลูกร้องเมื่อไหร่ให้กินนมทุกครั้งการที่ลูกร้องอาจไม่หิวก็ได้  นมล้นกระเพาะอาหารเด็กก็อาเจียนออกมาได้  2 ภาวะการไหลย้อนกลับของนมเนื่องจากหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเจริญไม่เต็มที่ ภาวะนี้ถ้าอาเจียนเล็กน้อยเด็กกินนมต่อได้ เจริญเติบโตดีไม่จำเป็นต้องให้ยา

วิธีแก้ไขคือ

ให้ลูกนอนหัวสูงเวลาให้นม หลังกินนมเสร็จอย่าเพิ่งจับเรอให้ลูกนอนนิ่งที่สุด ให้ลูกกินนมทีละน้อยแต่กินบ่อยให้อาหารเสริมเร็วที่อายุ3 เดือน อาหารหนักท้องเด็กจะไม่อาเจียน ภาวะนี้จะดีขึ้นตามวัย และหายได้เมื่ออายุ4-7 เดือน3.ภาวะการอุดตันของกระเพาะอาหาร  เด็กจะอาเจียนพุ่ง นำหนักลด ผอมลง ถ้าเด็กอาเจียนมากและเลี้ยงไม่โตครปรึกษาแพทย์

3.เด็กถ่ายอุจจาระบ่อย จากการกินนมแม่ เด็กที่กินนมแม่อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง เละเละอาจมีนำปนเล็กน้อย ในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกจะถ่ายบ่อย 5-6ครั้ง/วันหลังจากนั้นจะถ่ายลดลงเหลือ 1-2 ครั้ง/วัน ถ้าลูกกินนมแม่แล้วถ่ายลักษณะนี้ไม่ต้องกังวลใจ

4.ภาวะรูก้นเป็นแผล[Anal Fissure] เนื่องจากเด็กเล็กมีการถ่ายบ่อยเกิดการระคายเคืองทำให้รอบรอบรูก้นเป็นแผลได้ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมาเพราะลูกเจ็บแผลจึงไม่ยอมเบ่งถ่าย
วิธีป้องกันคือ ใช้วาสลินทาบริเวณรูก้นให้ลูกหลังทำความสะอาดทุกครั้งแต่ถ้าก้นเป็นแผลแล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาทาลดการอักเสบและรักษาแผล


5.ภาวะคัดจมูกในทารก เด็กทารกจะมีน้ำมูกในจมูกออกมาทุกวัน ควรเช็ดน้ำมูกให้ลูกหลังอาบน้ำเช้า-เย็นโดยใช้ไม้พันสำลีหรือกระดาษทิชชู่ม้วนเล็กๆเช็ดให้ลูกเบาๆระวังไม้กระแทกจมูกลูกลูกจะเจ็บต่อไปอาจไม่ยอมให้ทำอีก

6.ภาวะร้อง 3 เดือนหรือการปวดท้องโคลิก ภาวะนี้อาจเกิดหลังจากออกจากโรงพยาบาลหรือเมื่ออายุ3-4 สัปดาห์เด็กจะร้องตอนหัวค่ำ ร้องเป็นพักๆนาน 1-3 ชั่วโมง ภาวะนี้เชื่อว่าเกิดจากเด็กมีการปวดท้องเมื่อลำไส้บีบตํวเด็กจะร้องเป็นพักๆอาจเนื่องจากลำไส้ของเด็กยังเจริญไม่เต็มที่ วิธีแก้ไข ควรอุ้มทารกพาดบ่า ปลอบโยนลูก อาจให้ญาติผู้ใหญ่ช่วยอุ้ม อย่าเครียดเพราะเด็กจะรับรู้และยิ่งร้องมาก ถ้าอุ้มเดินแล้วเด็กร้องน้อยลงจนหลับได้ก็ไม่ต้องให้ยาแต่ถ้าร้องมากอาจให้ยาแก้ท้องอืด กล่มยา SIMETICON เด็กจะสบายขึ้นแต่ในรายที่ร้องมากอาจต้องให้ยาแก้ปวดท้องซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวังควรปรึกษาแพทย์

7.การมีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดชั่วคราวในทารกแรกเกิด ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องจะได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากแม่ ฮอร์โมนนี้ทำให้มดลูกในเด็กผู้หญิงหนาตัว เมื่อเด็กคลอดออกมาฮอร์โมนจากแม่ลดลงอย่างรวดเร็วผนังมดลูกจะลอกตัวจึงมีเลอดออกทางช่อง ส่วนตกขาวและอวัยวะเพศบวมก็เกิดจากฮอร์โมนจากแม่เช่นกันเมื่อฮอร์โมนหมด ภาวะต่างๆเหล่านี้ก็จะหายไป


B.ภาวะผิดปกติ 

1.สะดืออักเสบ สายสะดือจะถูกตัดออกเมื่อลูกคลอดเหลือยาวประมาณ5 ซม. ควรเช็ดสะดือให้แห้งหลังอาบน้ำ เช็ดวันละ 2 ครั้งด้วยอัลกอฮอล์ เช้า เย็น เช็ดให้ถึงโคนไม่ต้องกลัวลูกเจ็บเวลาเช็ดสะดือลูกอาจจะร้องบ้างเพราะรู้สึกรำคาญแต่ลูกจะไม่เจ็บถ้าเช็ดสะดือดี จะหลุดภายใน7-10 วันแต่ถ้าเช็ดไม่สะอาด สะดือจะแฉะ อ้กเสบ ติดเชื้อ หลุดช้า ในบางรายการติดเชื้อรุกลามเข้ากระแสเลือดเป็นอันตราย

2.ทารกนอนมากเกินไป ทารกปกตินอนวันละ 20-22 ชั่วโมง และจะตื่นมาร้องกินนมวันละ8 มื้อ ถ้าทารกนอนมากเกินไป ไม่ตื่นมาร้องกินนมภายใน4-5 ชั่วโมงถือว่าผิดปกติควรพบแพทย์หาสาเหตุ ภาวะที่ทำให้เด็กมีอาการดังกล่าว เช่น ภาวะฮอร์โมนทัยรอยด์ในเลือดต่ำ ตัวเหลืองมากเกิน การติดเชื้อ เป็นต้น

3.ถุงน้ำตาอักเสบ เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา พบได้บ่อยในทารกตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะมีน้ำตาไหลคลอตาข้างที่มีการอุดตัน อาจมีการอักเสบติดเชื้อมีขี้ตามาก วิธีแก้ไข ใช้นิ้วก้อยนวดหัวตาด้านจมูกโดยกดเบาๆจากหัวตาลงสู่จมูก20-30/ครั้ง วันละ 2-3 รอบ ใช้เวลา2-3 เดือนท่อนำตาจะเปิดเอง ถ้าอายุ10เดือนท่อน้ำตายังไม่เปิดจำเป็นต้องพบหมอตาเพื่อพิจารณาแยงท่อน้ำตาให้เปิด

4.ภาวะคอเอียง เกิดจากกลามเนื้อด้านหนึ่งมีการหดตัวมากกว่าปกติวิธีแก้ไขให้จับลูกนอนหันไปทางด้านที่กล้ามเนื้อหดตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อยืดออก ทำทุกวัน ค้างไว้ 10วินาทีคอลูกจะกลับมาตรงได้ถ้าภายใน 6 เดือนไม่ดีขึ้นต้องรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อ

5.มีเชื้อราในปากลักษณะเป็นคราบสีขาวหนาที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจทำให้เด็กเจ็บและกินนมน้อยลง สาเหตุเกิดจากหลังกินนมจะมีนมเหลือค้างในปากทำให้เชื้อราเติบโต แก้ไขโดยหลังกินนมทุกครั้ง(โดยเฉพาะนมกระป๋อง)ควรให้ลูกกินน้ำเปล่าเล็กน้อยเพื่อล้างปาก  ถ้าเป็นมากควรพบแพทย์เพื่อให้ยารักษาเชื้อรา

6.ผื่นแพ้ผ้าอ้อม เด็กบางคนเมื่อใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอาจแพ้เป็นผื่นแดงบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม วิธีแก้ไขควรทาวาสลีนก่อนใส่ผ้าอ้อมให้ลูกทุกครั้ง ถ้าแพ้มากอาจต้องใช้ยาแก้แพ้ทาเด็กวัย 3  เดือนแรกนอนไม่ดิ้น กลางวันไม่ควรใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ใช้ผ้ายางปูใช้ผ้าอ้อมปูทับถ้าลูกขับถ่ายให้แช่ผ้าอ้อมในน้ำแล้วซัก กลางคืนค่อยใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการ

  “ สื่อ” ในที่นี้ไม่ใช่สื่อมวลชน หรือสื่อโฆษณา แต่หมายถึง สิ่งที่นำมาเพื่อเป็นอุปกรณ์เสริม
     ช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้มีความเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย หรือในด้านการศึกษา
     คือ อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก   สร้างความสนใจในการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
     หรือความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
   ทำไม?   คนโบราณเลี้ยงลูกไม่เห็นจะต้องมีสื่อมีของเล่น
     มากมายมากระตุ้นพัฒนาการให้ลูกเป็นคนฉลาด หรือมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย   คงจะมี
     บางคนตั้งข้อสงสัยเช่นนี้ แต่ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำวัสดุรอบๆ ตัวมาดัดแปลงทำเป็นของเล่น
    ให้ลูก เช่น ก้านกล้วย จินตนาการเป็น ม้า, ปืน, ดาบ ทั้งหมดก็คือสื่อ (อย่างที่ปัจจุบันเรียก)
     ซึ่งช่วยให้เด็กๆ   ทั้งเล่นสนุก   สร้างจินตนาการ  กระตุ้นพัฒนาการได้   เปรียบเทียบกับใน
     สมัยปัจจุบันก็คือ ของเล่นที่มีสีสันสวยๆ ต่างๆ  ซึ่งเมื่อนำไปใช้ในด้านการศึกษาก็เรียกว่า
    
“ สื่อการเรียนการสอน ” นั่นเอง
   
                    เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาที่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย
     อารมณ์ สังคมและสติปัญญา   ให้มีพัฒนาการที่ดีได้อย่างเต็มท  ี่ ซึ่งพ่อ แม่ หรือผู้ดูแลต้องทำ
     ความเข้าใจ และหาวิธีที่น่าสนใจและหลากหลายมาเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
     ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นของเล่นที่เหมาะสมตามวัย      นำมาเป็นสื่อเพราะของเล่นเป็นของคู่กันกับ
     เด็กเล็กๆ อยู่แล้ว   จะเป็นการกระตุ้นให้สมองและร่างกายทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ
     และมีประสิทธิภาพ
  
                  
ในเด็กปกติการกระตุ้นพัฒนาการด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสมตามวัยก็ไม่ใช่สิ่งแปลกที่เด็ก
     จะสามารถเรียนรู้และตอบสนองได้ แต่สำหรับเด็กพิการ ซึ่งมีพัฒนาการและศักยภาพไม่เป็นไป
     ตามวัยที่เหมาะสม มีความบกพร่องทั้งทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านจิตใจ และอารมณ์
     ด้านสังคมรวมทั้งการไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ดังนั้นการช่วยเหลือบุคคลเหลานี้จำเป็นอย่างยิ่ง
     ที่จะต้องมีการมีการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อต่างๆ มาประกอบการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสนใจ
     สำหรับเด็ก และจะช่วยง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม
    ได้ดีขึ้น     สิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือเด็กพิการจะต้องศึกษาว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ
     ประเภทไหน สื่อเช่นไรที่เหมาะสมกับประเภท สภาพของความพิการ เพื่อให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง
     จึงขอจำแนกสื่อการเรียนรู้ตามประเภทความพิการ 9 ประเภท ดังต่อไปนี้
             1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น                            คือ ผู้ที่ไม่สามารถใช้สายตาได้ดีเหมือนคนปกติ อาจจะมองเห็นเลือนราง   จนถึง
     ตาบอด การกระตุ้นสำหรับบุคคลประเภทนี้ จึงเน้นเรื่องการฟัง การสัมผัส การดมกลิ่น การรับ
    รสชาติ ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์ช่วยในการอ่าน-เขียน เบรล์ล, หนังสือภาพขยายใหญ่,
    หนังสือเสียง, ลูกคิดสำหรับคนตาบอด สื่อที่เป็นของจริงหรือของจำลอง บทเรียนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
   
          2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน                           คือ ผู้ที่มีความสามารถรับฟังเสียงต่างๆ   บกพร่องหรือไม่ได้ยินเสียงต่างๆ เลย
    นอกจากจะได้รับการฝึกฝนในการสื่อสารด้วยภาษามือ สื่อที่จำเป็นอีกก็คือ เครื่องช่วยฟัง, ปากกา
    เน้นข้อความสะท้อนแสง, ชุดฝึกในรูปแบบวีดิทัศน์สำหรับการฟัง, สื่อจากของจริงและจากที่ผลิต
    เพื่อประกอบการสอนตามความเหมาะสมของบทเรียน
             3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
                          
คือ บุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าวัย มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าคนปกติ     มีปัญหา
    ในการช่วยเหลือตนเอง การเข้าสังคม การใช้ภาษา การเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การฝึกฝนต่างๆ
    มีสื่อที่เหมาะจะนำมาประกอบด้วยดังนี้   อุปกรณ์เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่,
    กล้ามเนื้อเล็ก, เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว, ช่วยในการจำ เช่น บัตรภาพ บัตรคำ สิ่งจำลอง และ
    ของจริงต่างๆ ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเพื่อให้เขาสนใจและอยากเรียนรู้มากขึ้น
             4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
                          
คือ ผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว อวัยวะไม่สมส่วน มีความผิดปกติของกระดูก กล้ามเนื้อ
    เกร็งหรืออ่อนแรง ผิดปกติของระบบประสาท     นอกจากจะได้รับการช่วยเหลือด้านการแพทย์
    แล้วทางด้านการศึกษาต้องได้รับการช่วยกระตุ้นฝึกฝนทั้งจากครูและผู้ปกครอง อุปกรณ์และวิธีการ
    ช่วยจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพของความพิการของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น โต๊ะ เก้าอี้
    ปากกา ดินสอน จาน ช้อน   จะต้องมีขนาดและรูปทรงที่เหมาะตามสภาพของแต่ละคน
    เพื่อความสะดวกต่อการหยิบ จับ ถือ ด้วย
             5. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
                          
คือ บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านการใช้ภาษา การฟัง การคิด การพูด การอ่าน
    การเขียน เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรืออาจจะหลายๆ เรื่องในคนเดียวกันก็ได้   สื่อที่จะนำมาใช้ครูผู้สอน
    จะต้องพิจารณาว่าควรจะแก้ไขอย่างไร   เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์จากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
    เด็กจะเกิดการเรียนรู้ซึ่งทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น   หากเด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง   จึงควรเน้นสื่อของจริง
    ที่ผู้เรียนคุ้นเคย สิ่งพิมพ์ หุ่นจำลอง บัตรคำ บัตรภาพ วีดีทัศน์ ฯลฯ
             6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
                          
คือ บุคคลซึ่งมีปัญหาในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ไม่สามารถเข้าใจภาษาที่ตนพูดหรือ
    คนอื่นพูด เมื่อสื่อสารไม่ได้ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมในสังคม นอกจากจะได้รับการแก้ไข
    การพูด ฝึกพูด เรียนภาษามือ ต้องใช้สื่อที่เป็นของจริง หุ่นจำลอง สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวที่รู้จักและสนใจ
    เพื่อช่วยในการรับรู้จากนามธรรมเป็นรูปธรรมได้
             7. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
                          
คือ ผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ การแสดงออกแบบก้าวร้าว ต่อต้าน หากไม่ได้รับการปรับ
    พฤติกรรม หรือการแก้ไข สิ่งที่แสดงออกด้านไม่ดีต่างๆ ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็น
    ปัญหาต่อสังคมได้ สื่อที่จะนำมาช่วยในการเรียนการสอนควรเป็นสิ่งที่ผู้เรียนคุ้นเคย  ปลอดภัย
    เป็นของจริง หรือสื่อธรรมชาติ สิ่งพิมพ์ต่างๆ สิ่งที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ วีดีทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ
             8. บุคคลออทิสติก
                          
คือ บุคคลซึ่งมีปัญหาด้านการสื่อสาร สังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มักจะมีภาษา
     หรือความเข้าใจภาษาของตนเอง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง จะพูดหรือทำเรื่องซ้ำๆ ที่ตนสนใจ
     จะต้องแก้ไขเรื่องการสื่อสารก่อนจึงจะทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ได้ ต้องจัดสื่อการเรียนรู้
     ทั้งเรื่อง การสัมผัส การรับรสชาติ สิ่งที่ปลอดภัยและเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจใกล้ตัวคุ้นเคย อย่างค่อย
     เป็นค่อยไปเพราะเด็กรับสิ่งแปลกใหม่ยาก   ลักษณะพิเศษของเด็กออทิสติกบางคนจะทำในสิ่งที่
    ตนสนใจได้ดี ผู้ปกครองหรือผู้ฝึกต้องศึกษาเพื่อส่งเสริมสิ่งที่เด็กทำได้ดี
             9. บุคคลพิการซ้อน
                          
บุคคลซึ่งมีความพิการมากกกว่างหนึ่งอย่างอยู่ในคนเดียวกัน เช่น มีความบกพร่องทาง
    การเห็นกับบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น การช่วยเหลือบุคคลพิการซ้อน ต้องศึกษาว่าเด็กคนนั้น
    บกพร่องทางไหน แล้วจึงให้ความช่วยเหลือตามสภาพนั้น การฝึก การกระตุ้น หรือการนำสื่อมาใช้
    ก็จะต้องจัดให้ตามลักษณะสภาพของแต่ละบุคคล

                          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเลือกนำสื่อแต่ละชนิดมาใช้ ต้องเข้าใจและศึกษาถึงพฤติกรรม
    ของเด็กด้วย เพราะเด็กแต่ละคนมีความต้องการและสนใจที่แตกต่างกัน มีข้อจำกัดทางร่างกาย
    ต่างกัน ผู้ปกครองหรือครูผู้สอนจึงต้องเอาใจใส่และค้นหาเลือกสรรหาสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม
    มาใช้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้ หรือเพื่ออำนวยความสะดวกให้เด็ก  แต่ถึงแม้ว่า
    สื่อการเรียนรู้จะมีความสำคัญอย่างไรก็ตาม     สิ่งสำคัญที่สุดที่จะสามารถช่วยให้ลูกมีพัฒนาเจริญ
    เติบโตเหมาะสมตามวัยได้ดีที่สุด ก็คือ
“ การสัมผัสด้วยความรัก ความอบอุ่น จากพ่อแม่ เป็นสื่อ
    ที่มีคุณค่าและสำคัญที่สุด สำหรับลูก”







                                                                             เอกสารอ้างอิง                    กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). คู่มือรายการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและ                                        ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตำรวจ เขตดุสิต.                    ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1.(2551) วารสารศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1                                        ฉบับรวมบทความวิชาการการศึกษาพิเศษ. นครปฐม : บริษัท ธรรมรักษ์                                        การพิมพ์ จำกัด.
                    ออทิสติก
. นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. http://www.happyhome meclinic.com/                                        
au 02-autism.htm.เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552.