วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการ

  “ สื่อ” ในที่นี้ไม่ใช่สื่อมวลชน หรือสื่อโฆษณา แต่หมายถึง สิ่งที่นำมาเพื่อเป็นอุปกรณ์เสริม
     ช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้มีความเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย หรือในด้านการศึกษา
     คือ อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก   สร้างความสนใจในการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
     หรือความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
   ทำไม?   คนโบราณเลี้ยงลูกไม่เห็นจะต้องมีสื่อมีของเล่น
     มากมายมากระตุ้นพัฒนาการให้ลูกเป็นคนฉลาด หรือมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย   คงจะมี
     บางคนตั้งข้อสงสัยเช่นนี้ แต่ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำวัสดุรอบๆ ตัวมาดัดแปลงทำเป็นของเล่น
    ให้ลูก เช่น ก้านกล้วย จินตนาการเป็น ม้า, ปืน, ดาบ ทั้งหมดก็คือสื่อ (อย่างที่ปัจจุบันเรียก)
     ซึ่งช่วยให้เด็กๆ   ทั้งเล่นสนุก   สร้างจินตนาการ  กระตุ้นพัฒนาการได้   เปรียบเทียบกับใน
     สมัยปัจจุบันก็คือ ของเล่นที่มีสีสันสวยๆ ต่างๆ  ซึ่งเมื่อนำไปใช้ในด้านการศึกษาก็เรียกว่า
    
“ สื่อการเรียนการสอน ” นั่นเอง
   
                    เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาที่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย
     อารมณ์ สังคมและสติปัญญา   ให้มีพัฒนาการที่ดีได้อย่างเต็มท  ี่ ซึ่งพ่อ แม่ หรือผู้ดูแลต้องทำ
     ความเข้าใจ และหาวิธีที่น่าสนใจและหลากหลายมาเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
     ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นของเล่นที่เหมาะสมตามวัย      นำมาเป็นสื่อเพราะของเล่นเป็นของคู่กันกับ
     เด็กเล็กๆ อยู่แล้ว   จะเป็นการกระตุ้นให้สมองและร่างกายทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ
     และมีประสิทธิภาพ
  
                  
ในเด็กปกติการกระตุ้นพัฒนาการด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสมตามวัยก็ไม่ใช่สิ่งแปลกที่เด็ก
     จะสามารถเรียนรู้และตอบสนองได้ แต่สำหรับเด็กพิการ ซึ่งมีพัฒนาการและศักยภาพไม่เป็นไป
     ตามวัยที่เหมาะสม มีความบกพร่องทั้งทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านจิตใจ และอารมณ์
     ด้านสังคมรวมทั้งการไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ดังนั้นการช่วยเหลือบุคคลเหลานี้จำเป็นอย่างยิ่ง
     ที่จะต้องมีการมีการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อต่างๆ มาประกอบการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสนใจ
     สำหรับเด็ก และจะช่วยง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม
    ได้ดีขึ้น     สิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือเด็กพิการจะต้องศึกษาว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ
     ประเภทไหน สื่อเช่นไรที่เหมาะสมกับประเภท สภาพของความพิการ เพื่อให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง
     จึงขอจำแนกสื่อการเรียนรู้ตามประเภทความพิการ 9 ประเภท ดังต่อไปนี้
             1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น                            คือ ผู้ที่ไม่สามารถใช้สายตาได้ดีเหมือนคนปกติ อาจจะมองเห็นเลือนราง   จนถึง
     ตาบอด การกระตุ้นสำหรับบุคคลประเภทนี้ จึงเน้นเรื่องการฟัง การสัมผัส การดมกลิ่น การรับ
    รสชาติ ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์ช่วยในการอ่าน-เขียน เบรล์ล, หนังสือภาพขยายใหญ่,
    หนังสือเสียง, ลูกคิดสำหรับคนตาบอด สื่อที่เป็นของจริงหรือของจำลอง บทเรียนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
   
          2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน                           คือ ผู้ที่มีความสามารถรับฟังเสียงต่างๆ   บกพร่องหรือไม่ได้ยินเสียงต่างๆ เลย
    นอกจากจะได้รับการฝึกฝนในการสื่อสารด้วยภาษามือ สื่อที่จำเป็นอีกก็คือ เครื่องช่วยฟัง, ปากกา
    เน้นข้อความสะท้อนแสง, ชุดฝึกในรูปแบบวีดิทัศน์สำหรับการฟัง, สื่อจากของจริงและจากที่ผลิต
    เพื่อประกอบการสอนตามความเหมาะสมของบทเรียน
             3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
                          
คือ บุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าวัย มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าคนปกติ     มีปัญหา
    ในการช่วยเหลือตนเอง การเข้าสังคม การใช้ภาษา การเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การฝึกฝนต่างๆ
    มีสื่อที่เหมาะจะนำมาประกอบด้วยดังนี้   อุปกรณ์เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่,
    กล้ามเนื้อเล็ก, เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว, ช่วยในการจำ เช่น บัตรภาพ บัตรคำ สิ่งจำลอง และ
    ของจริงต่างๆ ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเพื่อให้เขาสนใจและอยากเรียนรู้มากขึ้น
             4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
                          
คือ ผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว อวัยวะไม่สมส่วน มีความผิดปกติของกระดูก กล้ามเนื้อ
    เกร็งหรืออ่อนแรง ผิดปกติของระบบประสาท     นอกจากจะได้รับการช่วยเหลือด้านการแพทย์
    แล้วทางด้านการศึกษาต้องได้รับการช่วยกระตุ้นฝึกฝนทั้งจากครูและผู้ปกครอง อุปกรณ์และวิธีการ
    ช่วยจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพของความพิการของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น โต๊ะ เก้าอี้
    ปากกา ดินสอน จาน ช้อน   จะต้องมีขนาดและรูปทรงที่เหมาะตามสภาพของแต่ละคน
    เพื่อความสะดวกต่อการหยิบ จับ ถือ ด้วย
             5. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
                          
คือ บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านการใช้ภาษา การฟัง การคิด การพูด การอ่าน
    การเขียน เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรืออาจจะหลายๆ เรื่องในคนเดียวกันก็ได้   สื่อที่จะนำมาใช้ครูผู้สอน
    จะต้องพิจารณาว่าควรจะแก้ไขอย่างไร   เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์จากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
    เด็กจะเกิดการเรียนรู้ซึ่งทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น   หากเด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง   จึงควรเน้นสื่อของจริง
    ที่ผู้เรียนคุ้นเคย สิ่งพิมพ์ หุ่นจำลอง บัตรคำ บัตรภาพ วีดีทัศน์ ฯลฯ
             6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
                          
คือ บุคคลซึ่งมีปัญหาในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ไม่สามารถเข้าใจภาษาที่ตนพูดหรือ
    คนอื่นพูด เมื่อสื่อสารไม่ได้ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมในสังคม นอกจากจะได้รับการแก้ไข
    การพูด ฝึกพูด เรียนภาษามือ ต้องใช้สื่อที่เป็นของจริง หุ่นจำลอง สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวที่รู้จักและสนใจ
    เพื่อช่วยในการรับรู้จากนามธรรมเป็นรูปธรรมได้
             7. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
                          
คือ ผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ การแสดงออกแบบก้าวร้าว ต่อต้าน หากไม่ได้รับการปรับ
    พฤติกรรม หรือการแก้ไข สิ่งที่แสดงออกด้านไม่ดีต่างๆ ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็น
    ปัญหาต่อสังคมได้ สื่อที่จะนำมาช่วยในการเรียนการสอนควรเป็นสิ่งที่ผู้เรียนคุ้นเคย  ปลอดภัย
    เป็นของจริง หรือสื่อธรรมชาติ สิ่งพิมพ์ต่างๆ สิ่งที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ วีดีทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ
             8. บุคคลออทิสติก
                          
คือ บุคคลซึ่งมีปัญหาด้านการสื่อสาร สังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มักจะมีภาษา
     หรือความเข้าใจภาษาของตนเอง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง จะพูดหรือทำเรื่องซ้ำๆ ที่ตนสนใจ
     จะต้องแก้ไขเรื่องการสื่อสารก่อนจึงจะทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ได้ ต้องจัดสื่อการเรียนรู้
     ทั้งเรื่อง การสัมผัส การรับรสชาติ สิ่งที่ปลอดภัยและเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจใกล้ตัวคุ้นเคย อย่างค่อย
     เป็นค่อยไปเพราะเด็กรับสิ่งแปลกใหม่ยาก   ลักษณะพิเศษของเด็กออทิสติกบางคนจะทำในสิ่งที่
    ตนสนใจได้ดี ผู้ปกครองหรือผู้ฝึกต้องศึกษาเพื่อส่งเสริมสิ่งที่เด็กทำได้ดี
             9. บุคคลพิการซ้อน
                          
บุคคลซึ่งมีความพิการมากกกว่างหนึ่งอย่างอยู่ในคนเดียวกัน เช่น มีความบกพร่องทาง
    การเห็นกับบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น การช่วยเหลือบุคคลพิการซ้อน ต้องศึกษาว่าเด็กคนนั้น
    บกพร่องทางไหน แล้วจึงให้ความช่วยเหลือตามสภาพนั้น การฝึก การกระตุ้น หรือการนำสื่อมาใช้
    ก็จะต้องจัดให้ตามลักษณะสภาพของแต่ละบุคคล

                          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเลือกนำสื่อแต่ละชนิดมาใช้ ต้องเข้าใจและศึกษาถึงพฤติกรรม
    ของเด็กด้วย เพราะเด็กแต่ละคนมีความต้องการและสนใจที่แตกต่างกัน มีข้อจำกัดทางร่างกาย
    ต่างกัน ผู้ปกครองหรือครูผู้สอนจึงต้องเอาใจใส่และค้นหาเลือกสรรหาสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม
    มาใช้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้ หรือเพื่ออำนวยความสะดวกให้เด็ก  แต่ถึงแม้ว่า
    สื่อการเรียนรู้จะมีความสำคัญอย่างไรก็ตาม     สิ่งสำคัญที่สุดที่จะสามารถช่วยให้ลูกมีพัฒนาเจริญ
    เติบโตเหมาะสมตามวัยได้ดีที่สุด ก็คือ
“ การสัมผัสด้วยความรัก ความอบอุ่น จากพ่อแม่ เป็นสื่อ
    ที่มีคุณค่าและสำคัญที่สุด สำหรับลูก”







                                                                             เอกสารอ้างอิง                    กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). คู่มือรายการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและ                                        ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตำรวจ เขตดุสิต.                    ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1.(2551) วารสารศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1                                        ฉบับรวมบทความวิชาการการศึกษาพิเศษ. นครปฐม : บริษัท ธรรมรักษ์                                        การพิมพ์ จำกัด.
                    ออทิสติก
. นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. http://www.happyhome meclinic.com/                                        
au 02-autism.htm.เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น