วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาการนอนเป็นเรื่องธรรมดา

ปัญหาการนอนเป็นเรื่องธรรมดา

ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณควรนอนประมาณ 11 ชั่วโมงต่อคืน บวกกับการงีบอีกหนึ่งชั่วโมงครึ่งในช่วงบ่าย หากทำได้เช่นนั้น ถือว่าเป็นการนอนหลับที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่คุณแม่ย่อมทราบดีว่าเด็กๆ ไม่ได้ถูกตั้งโปรแกรมมาเหมือนหุ่นยนต์ และเด็กแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ มีลูกน้อยวัยหัดเดินหลายคนที่มีปัญหาเรื่องการนอน โดยที่ลูกน้อยวัยหัดเดินจำนวน 1 ใน 5 คนนอนยากหรือตื่นบ่อยในตอนกลางคืน และมีหลายคนที่ตื่นเช้าเกินไป

อะไรที่เป็นสาเหตุของปัญหาการนอน

ไม่มีกฎตายตัวว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหาการนอน แต่มีบ่อยครั้งที่คุณแม่สามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

อาหาร ลูกน้อยวัยหัดเดินที่เคยชินกับการทานตามความต้องการจะทานน้อยและทานบ่อย ซึ่งหมายความว่าลูกไม่เคยชินกับการนอนยาว (เช่น ในเวลากลางคืน) โดยไม่มีการทานอาหารเลย

∙   เหนื่อยเกินไป สาเหตุนี้อาจจะฟังดูแปลก แต่ลูกน้อยวัยหัดเดินหลายคนนอนไม่หลับถ้าเหนื่อยเกินไป ดังนั้น คุณควรจัดช่วงเวลาเข้านอนให้เป็นกิจวัตรเพื่อกำหนดเวลาให้ลูกน้อยของคุณเข้านอน และให้พยายามสุดความสามารถที่จะทำตามเวลาดังกล่าวให้ได้

∙   สิ่งปลุกเร้ามากเกินไป ทุกคนต้องการความผ่อนคลายก่อนที่จะเข้านอน ความสนุกสนานและเกมต่างๆ   ก่อนช่วงเวลาเข้านอนสามารถทำให้ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณตาสว่างและนอนไม่หลับ

∙   ไม่สบายตัว ทุกคนต่างก็มีปัญหาในการนอนถ้ารู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป หรือรู้สึกว่าชุดนอนหรือผ้าห่มไม่สบายตัว ไม่เว้นแม้แต่ลูกวัยหัดเดินของคุณ




คุณแม่จะตั้งกิจวัตรเพื่อช่วยให้ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณแม่นอนหลับได้อย่างไร

ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณน่าจะประสบปัญหาน้อยลงในการเข้านอน หากคุณแม่สร้างกิจวัตรประจำวันง่ายๆ ก่อนเข้านอน รวมถึงช่วงเวลาเงียบสงบ 15-20 นาที ในช่วงเวลาพิเศษนี้ คุณแม่สามารถอ่านนิทานให้ลูกน้อยฟัง  อาบน้ำให้ลูกหรือแม้กระทั่งนั่งเฉยๆ แล้วกอดลูกน้อยไว้ก็ได้ ด้วยวิธีเช่นนี้ ลูกน้อยจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องง่ายขึ้นอย่างมากในการนอนหลับเมื่อสิ้นสุดวัน



คุณแม่ต้องแน่ใจว่าลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณสวมเสื้อผ้าที่สบายและอุณหภูมิห้องไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ซึ่งจะช่วยได้มากหากบ้านเงียบและไฟไม่สว่างมาก เพื่อเป็นการสอนลูกน้อยให้รู้จักความแตกต่างระหว่างกลางคืนและกลางวัน สวิตช์ไฟแบบดิมเมอร์ที่ปรับแสงสว่างได้ สามารถช่วยได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับผ้าม่านหนาๆ หรือมู่ลี่ที่จะกั้นไม่ให้ไฟถนนส่องเข้ามารบกวนลูกน้อย
นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้ที่สามารถช่วยได้หากลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณนอนไม่หลับ

∙   คุณแม่ต้องแน่ใจว่าลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณทานอาหารเต็มที่ในระหว่างวัน แต่ต้องไม่ใช่การทานแบบตามความต้องการ นั่นคือ ต้องพยายามให้ลูกน้อยเลิกนิสัยทานน้อยและทานบ่อย หากลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณยังตื่นมาทานนมในตอนกลางคืน คุณแม่อาจค่อยๆ ลองเปลี่ยนจากนมเป็นน้ำแทน ลูกน้อยจะได้ไม่ต้องติดการกินนมก่อนที่จะหลับต่อได้

∙   หากลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณต้องใช้เวลาสักพักในการเข้านอน คุณแม่ต้องใจเย็นและผ่อนคลาย โดยคุณแม่ควรวางลูกลง แล้วปล่อยลูกไว้ในห้อง และถ้าลูกเรียกคุณ ให้รอสัก 5-10 นาทีก่อนที่จะเข้าไปหาลูกน้อย

∙   หากลูกวัยหัดเดินของคุณตื่นตอนกลางดึก ให้ทำแบบเดียวกัน คอยดูให้มีความวุ่นวาย เสียง และแสงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้ววางลูกน้อยลงอย่างนุ่มนวล

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการและการเลี้ยงดู เด็กปฐมวัย

พัฒนาการและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยหมายถึง เด็กในช่วงแรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงทองของชีวิต เนื่องจากเป็นระยะที่ระบบประสาทและสมองของเด็กเจริญเติบโตในอัตรสูงสุด การปลูกฝังและสร้างเสริมพันฒนาการทุกๆ ด้านให้แก่เด็กในวัยนี้ จึงย่อมได้ผลอย่างเต็มศักยภาพ มากกว่าการปลูกฝังและสร้างเสริมในช่วงวัยอื่นๆ
ดังนั้น การให้การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุ จึงมีความสำคัญอย่างมากเพราะจะเป็นรากฐานของการพัฒนาในวัยต่างๆ ต่อไปนั่นเอง
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัย 1-2 ขวบ ด้านร่างกาย
อายุ 10-16 เดือน ฟันซี่ข้างด้านล่างขึ้น 2 ซี่
อายุ 13-19 เดือน ฟันกราม 4 ซี่ชุดแรกขึ้น
อายุ 16-23 เดือน ฟันเขี้ยว 4 ซี่ขึ้น
อายุ 23-31 เดือน ฟันกราม 4 ซี่ชุดที่สองขึ้น
การรับประทาน
ระบบการย่อยอาหารพัฒนาขึ้น คุณแม่เริ่มให้อาหารอย่างอื่นนอกจากนมได้แล้ว
อายุ 12 เดือน อัตราการเจริญเติบโตจะช้า ความอยากอาหารลดน้อยลง
การขับถ่าย
เด็กยังควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระได้ไม่ดีนัก ช่วงอายุ 1 ขวบ คุณแม่อย่าเพิ่งฝึกหัดการขับถ่ายโดยการนั่งกระโถน แม้ว่าเขาจะเรียนรู้การนั่งได้แล้วก็ตาม ควรหัดในช่วง 18 เดือนถึง 2 ขวบ
การนอน
ช่วงนอนหลับตอนกลางวันจะเริ่มสั้นลงและตื่นอยู่ได้นานขึ้น โดยการนอนหลับในเวลากลางวันนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องคาดหวังให้ลูกนอนนานๆ ถ้าลูกของคุณนอนได้วันละ 2 ครั้ง และหลับนานครั้งละประมาณ 20-30 นาที ก็ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของเด็กแล้ว และไม่ควรกักขังเด็กอยู่ในเปลเพื่อจะบังคับให้เขาหลับ แต่ควรจะปล่อยเด็กออกมาเล่น หรือออกกำลังกายข้างนอกจะดีกว่า
ความสามารถในการฟังและการออกเสียง
เด็กอายุ 1 ขวบ เริ่มรู้จักชื่อของตัวเองแล้ว เมื่อถูกเรียกชื่อก็จะหันมองตามเสียงเรียก และสามารถเข้าใจคำพูดสั้นง่ายๆ ที่เป็นคำสั่งประกอบท่าทาง เช่น สั่งให้นอนพร้อมกับตบหมอนประกอบ เด็กก็จะนอนตามคำสั่งได้
ส่วนการออกเสียงนั้น เมื่อเด็กอารมณ์ดีก็จะคุยจ้อด้วยเสียงดัง แต่ยังไม่เป็นคำพูด ฟังไม่เข้าใจ แต่แม่หรือคนเลี้ยงที่คุ้นเคยกับเด็กซึ่งอาจจะเกิดความเข้าใจ
พัฒนาการของกลไกต่างๆ ของร่างกาย
เมื่ออายุ 1 ขวบครึ่ง เด็กจะคุกเข่าหรือนั่งชันเข่าได้โดยไม่ต้องใช้มือค้ำหรือเดินด้วยเข่า โดยใช้มือจับราวหรือกล่องใหญ่ได้โดยไม่ล้ม และจะชอบเล่นของที่ผลัก หรือดึงให้เคลื่อนที่ได้
ในช่วงนี้เด็กเริ่มเดินได้คล่อง สามารถหยุดเดินหรือก้าวเดินต่อได้ดังใจ การก้าวเท้าสัมพันธ์กับการแกว่งแขน เด็กไม่จำเป็นต้องเดินเตาะแตะรักษาสมดุบของร่างกายอีกต่อไป
พัฒนาการของสายตาและการใช้มือ
เด็กสามารถจำคนคุ้นเคยได้ในระยะ 6 เมตร ถ้ามีสิ่งเคลื่อนไหวอยู่ในระยะประตูห้อง เด็กจะจ้องดู และเริ่มดูรูปภาพโดยใช้ความสังเกต
เมื่ออายุ 1 ขวบครึ่ง จะรู้จักชี้ชวนให้มองของที่สะดุดตาในระยะห่างพอสมควร
เด็กสามารถใช้มือถือช้อนได้แต่ยังป้อนใส่ปากไม่เป็น สามารถจับถ้วยได้ด้วยตนเอง รู้จักถือของชิ้นเล็กๆ ได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้วชี้ จับของสองสิ่งกระแทกกันได้ และหัดใช้มือทำงานทีละข้าง
อย่างไรก็ตามเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อส่วนข้อมือได้ดังนั้นเวลาจับของ หรือใช้มือเด็กจะเคลื่อนไหวตลอดทั้งลำแขน
ช่วงอายุ 2 ขวบ จะเป็นระยะที่บอกได้ว่า เด็กถนัดใช้มือซ้ายหรือมือขวา
พัฒนาการทางการเล่นและพัฒนาการทางสังคม
เด็กวัย 1 ขวบ ชอบของเล่นที่มีเสียงเป็นพิเศษ แต่อาจจะสนใจไม่นานแล้วก็โยนทิ้ง และชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ เช่น หยิบโน่นใส่นี่เลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่ เทของออกจากภาชนะได้สามารถหาของจากที่ซ่อนพบ ชอบเล่นตบน้ำเพื่อให้เกิดเสียงดังแปะๆ โบกมือบ๊ายบายได้
ส่วนพัฒนาการทางสังคมนั้นเมื่อพบคนคุ้นหน้าเด็กจะแสดงอาการให้รู้ว่ารู้จัก เช่น ยิ้มเต็มที่จนถึงหัวเราะเอี๊กอ๊าก หรือร้องเอ๋แสดงการทักทาย
อายุ 1 ขวบครึ่ง ชอบเล่นหย่อนของลงกล่องแล้วเทอออก แล้วหย่อนลงไปใหม่กลับไปกลับมา และเมื่อมีของเล่นวางกองไว้บนพื้นบ้านเด็กจะเล่นได้ตามลำพังเป็นเวลานานพอสมควร
ครั้นพออายุ 2 ขวบ เด็กจะเรียกร้องความสนใจจากแม่บ่อยขึ้น ถือเป็นระยะติดแม่ และรู้จักดื้อและแสดงอาการฉุนเฉียวเมื่อมีความรู้สึกไม่พอใจ
อายุ 1 ขวบ 3 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันหัดได้ หัดเยอรมัน และคางทูม
อายุ 1 ขวบ 6 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (HIB) โปลิโอและคอตีบ
อายุ 2 ขวบ ฉีดป้องกันไทฟอยด์ 2 ครั้งเท่ากัน 4 อาทิตย์
บทบาทของบิดามารดาและพี่เลี้ยง
พ่อแม่ควรสนับสนุนให้เด็กวัยนี้ได้เคลื่อนไหวและสนองความอยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ โดยจัดสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจค้นหาได้ตามต้องการอย่างปลอดภัย หรืออาจพาไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ โดยคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
พร้อมกับร่วมเล่นกับลูกเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ความกระตือรือร้นและความสนุกสนานเพลิดเพลิน และหมั่นคุยกับลูกเพื่อช่วยพัฒนาการใช้ภาษาของลูก
ให้เด็กมีโอกาสได้คุ้นเคยกับบุคคลอื่นๆ ที่ใกล้ชิดในครอบครัว เช่น ญาติผู้ใหญ่
พยายามไม่ถ่ายทอดความกลัวของตนให้เด็ก (เช่น แมลงสาบ จิ้งจก แมงมุมหรืออื่นๆ) เพราะเด็กจะกลัวตามคุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยงโดยอัตโนมัติ
และที่สำคัญต้องอดทนกับพฤติกรรมในขั้นปฏิเสธของเด็ก เช่น เดียวอารมณ์ดี เดี๋ยวอารมณ์ไม่ดี ไม่ยอมทำตามที่ผู้ใหญ่บอกและร้องไห้เกเร เพราะล้วนเป็นสัญลักษณ์ของพัฒนาการ ที่เป็นไปตามปกติของเด็กวัย 1-2 ขวบ

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย

ปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย       
เขียนโดย กัมพล   
A.ภาวะปกติ:




1.เด็กสะอึก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดถึงอายุ4-5เดือนมักเป็นหลังกินนมแก้ไขโดยให้ดูดน้ำหรือนมเร็วเร็วการสะอึกจะน้อยลงแล้วหายไปเอง การสะอึกจะน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นจนหายไปเอง

2.เด็กสำรอกนม,อาเจียน เด็กมักจะมีการสำรอกนมได้บ้างหลังวกินนมประมาณ1 ชม.เป็นนมที่ยังย่อยไม่เสร็จเป็นก้อนเล็กๆปนกับนำนมปริมาณไม่มากซึ่งไม่ใช่ภาวะผิดปกติไม่ต้องวิตกกังวล  แต่ในทารกบางคนอาจมีการอาเจียนหลังกินนมทันทีซึ่งมีหลายสาเหตุ คือ 1 กินนมมากเกินไป เช่นลูกร้องเมื่อไหร่ให้กินนมทุกครั้งการที่ลูกร้องอาจไม่หิวก็ได้  นมล้นกระเพาะอาหารเด็กก็อาเจียนออกมาได้  2 ภาวะการไหลย้อนกลับของนมเนื่องจากหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเจริญไม่เต็มที่ ภาวะนี้ถ้าอาเจียนเล็กน้อยเด็กกินนมต่อได้ เจริญเติบโตดีไม่จำเป็นต้องให้ยา

วิธีแก้ไขคือ

ให้ลูกนอนหัวสูงเวลาให้นม หลังกินนมเสร็จอย่าเพิ่งจับเรอให้ลูกนอนนิ่งที่สุด ให้ลูกกินนมทีละน้อยแต่กินบ่อยให้อาหารเสริมเร็วที่อายุ3 เดือน อาหารหนักท้องเด็กจะไม่อาเจียน ภาวะนี้จะดีขึ้นตามวัย และหายได้เมื่ออายุ4-7 เดือน3.ภาวะการอุดตันของกระเพาะอาหาร  เด็กจะอาเจียนพุ่ง นำหนักลด ผอมลง ถ้าเด็กอาเจียนมากและเลี้ยงไม่โตครปรึกษาแพทย์

3.เด็กถ่ายอุจจาระบ่อย จากการกินนมแม่ เด็กที่กินนมแม่อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง เละเละอาจมีนำปนเล็กน้อย ในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกจะถ่ายบ่อย 5-6ครั้ง/วันหลังจากนั้นจะถ่ายลดลงเหลือ 1-2 ครั้ง/วัน ถ้าลูกกินนมแม่แล้วถ่ายลักษณะนี้ไม่ต้องกังวลใจ

4.ภาวะรูก้นเป็นแผล[Anal Fissure] เนื่องจากเด็กเล็กมีการถ่ายบ่อยเกิดการระคายเคืองทำให้รอบรอบรูก้นเป็นแผลได้ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมาเพราะลูกเจ็บแผลจึงไม่ยอมเบ่งถ่าย
วิธีป้องกันคือ ใช้วาสลินทาบริเวณรูก้นให้ลูกหลังทำความสะอาดทุกครั้งแต่ถ้าก้นเป็นแผลแล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาทาลดการอักเสบและรักษาแผล


5.ภาวะคัดจมูกในทารก เด็กทารกจะมีน้ำมูกในจมูกออกมาทุกวัน ควรเช็ดน้ำมูกให้ลูกหลังอาบน้ำเช้า-เย็นโดยใช้ไม้พันสำลีหรือกระดาษทิชชู่ม้วนเล็กๆเช็ดให้ลูกเบาๆระวังไม้กระแทกจมูกลูกลูกจะเจ็บต่อไปอาจไม่ยอมให้ทำอีก

6.ภาวะร้อง 3 เดือนหรือการปวดท้องโคลิก ภาวะนี้อาจเกิดหลังจากออกจากโรงพยาบาลหรือเมื่ออายุ3-4 สัปดาห์เด็กจะร้องตอนหัวค่ำ ร้องเป็นพักๆนาน 1-3 ชั่วโมง ภาวะนี้เชื่อว่าเกิดจากเด็กมีการปวดท้องเมื่อลำไส้บีบตํวเด็กจะร้องเป็นพักๆอาจเนื่องจากลำไส้ของเด็กยังเจริญไม่เต็มที่ วิธีแก้ไข ควรอุ้มทารกพาดบ่า ปลอบโยนลูก อาจให้ญาติผู้ใหญ่ช่วยอุ้ม อย่าเครียดเพราะเด็กจะรับรู้และยิ่งร้องมาก ถ้าอุ้มเดินแล้วเด็กร้องน้อยลงจนหลับได้ก็ไม่ต้องให้ยาแต่ถ้าร้องมากอาจให้ยาแก้ท้องอืด กล่มยา SIMETICON เด็กจะสบายขึ้นแต่ในรายที่ร้องมากอาจต้องให้ยาแก้ปวดท้องซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวังควรปรึกษาแพทย์

7.การมีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดชั่วคราวในทารกแรกเกิด ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องจะได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากแม่ ฮอร์โมนนี้ทำให้มดลูกในเด็กผู้หญิงหนาตัว เมื่อเด็กคลอดออกมาฮอร์โมนจากแม่ลดลงอย่างรวดเร็วผนังมดลูกจะลอกตัวจึงมีเลอดออกทางช่อง ส่วนตกขาวและอวัยวะเพศบวมก็เกิดจากฮอร์โมนจากแม่เช่นกันเมื่อฮอร์โมนหมด ภาวะต่างๆเหล่านี้ก็จะหายไป


B.ภาวะผิดปกติ 

1.สะดืออักเสบ สายสะดือจะถูกตัดออกเมื่อลูกคลอดเหลือยาวประมาณ5 ซม. ควรเช็ดสะดือให้แห้งหลังอาบน้ำ เช็ดวันละ 2 ครั้งด้วยอัลกอฮอล์ เช้า เย็น เช็ดให้ถึงโคนไม่ต้องกลัวลูกเจ็บเวลาเช็ดสะดือลูกอาจจะร้องบ้างเพราะรู้สึกรำคาญแต่ลูกจะไม่เจ็บถ้าเช็ดสะดือดี จะหลุดภายใน7-10 วันแต่ถ้าเช็ดไม่สะอาด สะดือจะแฉะ อ้กเสบ ติดเชื้อ หลุดช้า ในบางรายการติดเชื้อรุกลามเข้ากระแสเลือดเป็นอันตราย

2.ทารกนอนมากเกินไป ทารกปกตินอนวันละ 20-22 ชั่วโมง และจะตื่นมาร้องกินนมวันละ8 มื้อ ถ้าทารกนอนมากเกินไป ไม่ตื่นมาร้องกินนมภายใน4-5 ชั่วโมงถือว่าผิดปกติควรพบแพทย์หาสาเหตุ ภาวะที่ทำให้เด็กมีอาการดังกล่าว เช่น ภาวะฮอร์โมนทัยรอยด์ในเลือดต่ำ ตัวเหลืองมากเกิน การติดเชื้อ เป็นต้น

3.ถุงน้ำตาอักเสบ เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา พบได้บ่อยในทารกตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะมีน้ำตาไหลคลอตาข้างที่มีการอุดตัน อาจมีการอักเสบติดเชื้อมีขี้ตามาก วิธีแก้ไข ใช้นิ้วก้อยนวดหัวตาด้านจมูกโดยกดเบาๆจากหัวตาลงสู่จมูก20-30/ครั้ง วันละ 2-3 รอบ ใช้เวลา2-3 เดือนท่อนำตาจะเปิดเอง ถ้าอายุ10เดือนท่อน้ำตายังไม่เปิดจำเป็นต้องพบหมอตาเพื่อพิจารณาแยงท่อน้ำตาให้เปิด

4.ภาวะคอเอียง เกิดจากกลามเนื้อด้านหนึ่งมีการหดตัวมากกว่าปกติวิธีแก้ไขให้จับลูกนอนหันไปทางด้านที่กล้ามเนื้อหดตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อยืดออก ทำทุกวัน ค้างไว้ 10วินาทีคอลูกจะกลับมาตรงได้ถ้าภายใน 6 เดือนไม่ดีขึ้นต้องรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อ

5.มีเชื้อราในปากลักษณะเป็นคราบสีขาวหนาที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจทำให้เด็กเจ็บและกินนมน้อยลง สาเหตุเกิดจากหลังกินนมจะมีนมเหลือค้างในปากทำให้เชื้อราเติบโต แก้ไขโดยหลังกินนมทุกครั้ง(โดยเฉพาะนมกระป๋อง)ควรให้ลูกกินน้ำเปล่าเล็กน้อยเพื่อล้างปาก  ถ้าเป็นมากควรพบแพทย์เพื่อให้ยารักษาเชื้อรา

6.ผื่นแพ้ผ้าอ้อม เด็กบางคนเมื่อใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอาจแพ้เป็นผื่นแดงบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม วิธีแก้ไขควรทาวาสลีนก่อนใส่ผ้าอ้อมให้ลูกทุกครั้ง ถ้าแพ้มากอาจต้องใช้ยาแก้แพ้ทาเด็กวัย 3  เดือนแรกนอนไม่ดิ้น กลางวันไม่ควรใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ใช้ผ้ายางปูใช้ผ้าอ้อมปูทับถ้าลูกขับถ่ายให้แช่ผ้าอ้อมในน้ำแล้วซัก กลางคืนค่อยใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการ

  “ สื่อ” ในที่นี้ไม่ใช่สื่อมวลชน หรือสื่อโฆษณา แต่หมายถึง สิ่งที่นำมาเพื่อเป็นอุปกรณ์เสริม
     ช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้มีความเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย หรือในด้านการศึกษา
     คือ อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก   สร้างความสนใจในการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
     หรือความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
   ทำไม?   คนโบราณเลี้ยงลูกไม่เห็นจะต้องมีสื่อมีของเล่น
     มากมายมากระตุ้นพัฒนาการให้ลูกเป็นคนฉลาด หรือมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย   คงจะมี
     บางคนตั้งข้อสงสัยเช่นนี้ แต่ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำวัสดุรอบๆ ตัวมาดัดแปลงทำเป็นของเล่น
    ให้ลูก เช่น ก้านกล้วย จินตนาการเป็น ม้า, ปืน, ดาบ ทั้งหมดก็คือสื่อ (อย่างที่ปัจจุบันเรียก)
     ซึ่งช่วยให้เด็กๆ   ทั้งเล่นสนุก   สร้างจินตนาการ  กระตุ้นพัฒนาการได้   เปรียบเทียบกับใน
     สมัยปัจจุบันก็คือ ของเล่นที่มีสีสันสวยๆ ต่างๆ  ซึ่งเมื่อนำไปใช้ในด้านการศึกษาก็เรียกว่า
    
“ สื่อการเรียนการสอน ” นั่นเอง
   
                    เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาที่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย
     อารมณ์ สังคมและสติปัญญา   ให้มีพัฒนาการที่ดีได้อย่างเต็มท  ี่ ซึ่งพ่อ แม่ หรือผู้ดูแลต้องทำ
     ความเข้าใจ และหาวิธีที่น่าสนใจและหลากหลายมาเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
     ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นของเล่นที่เหมาะสมตามวัย      นำมาเป็นสื่อเพราะของเล่นเป็นของคู่กันกับ
     เด็กเล็กๆ อยู่แล้ว   จะเป็นการกระตุ้นให้สมองและร่างกายทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ
     และมีประสิทธิภาพ
  
                  
ในเด็กปกติการกระตุ้นพัฒนาการด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสมตามวัยก็ไม่ใช่สิ่งแปลกที่เด็ก
     จะสามารถเรียนรู้และตอบสนองได้ แต่สำหรับเด็กพิการ ซึ่งมีพัฒนาการและศักยภาพไม่เป็นไป
     ตามวัยที่เหมาะสม มีความบกพร่องทั้งทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านจิตใจ และอารมณ์
     ด้านสังคมรวมทั้งการไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ดังนั้นการช่วยเหลือบุคคลเหลานี้จำเป็นอย่างยิ่ง
     ที่จะต้องมีการมีการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อต่างๆ มาประกอบการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสนใจ
     สำหรับเด็ก และจะช่วยง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม
    ได้ดีขึ้น     สิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือเด็กพิการจะต้องศึกษาว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ
     ประเภทไหน สื่อเช่นไรที่เหมาะสมกับประเภท สภาพของความพิการ เพื่อให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง
     จึงขอจำแนกสื่อการเรียนรู้ตามประเภทความพิการ 9 ประเภท ดังต่อไปนี้
             1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น                            คือ ผู้ที่ไม่สามารถใช้สายตาได้ดีเหมือนคนปกติ อาจจะมองเห็นเลือนราง   จนถึง
     ตาบอด การกระตุ้นสำหรับบุคคลประเภทนี้ จึงเน้นเรื่องการฟัง การสัมผัส การดมกลิ่น การรับ
    รสชาติ ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์ช่วยในการอ่าน-เขียน เบรล์ล, หนังสือภาพขยายใหญ่,
    หนังสือเสียง, ลูกคิดสำหรับคนตาบอด สื่อที่เป็นของจริงหรือของจำลอง บทเรียนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
   
          2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน                           คือ ผู้ที่มีความสามารถรับฟังเสียงต่างๆ   บกพร่องหรือไม่ได้ยินเสียงต่างๆ เลย
    นอกจากจะได้รับการฝึกฝนในการสื่อสารด้วยภาษามือ สื่อที่จำเป็นอีกก็คือ เครื่องช่วยฟัง, ปากกา
    เน้นข้อความสะท้อนแสง, ชุดฝึกในรูปแบบวีดิทัศน์สำหรับการฟัง, สื่อจากของจริงและจากที่ผลิต
    เพื่อประกอบการสอนตามความเหมาะสมของบทเรียน
             3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
                          
คือ บุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าวัย มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าคนปกติ     มีปัญหา
    ในการช่วยเหลือตนเอง การเข้าสังคม การใช้ภาษา การเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การฝึกฝนต่างๆ
    มีสื่อที่เหมาะจะนำมาประกอบด้วยดังนี้   อุปกรณ์เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่,
    กล้ามเนื้อเล็ก, เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว, ช่วยในการจำ เช่น บัตรภาพ บัตรคำ สิ่งจำลอง และ
    ของจริงต่างๆ ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเพื่อให้เขาสนใจและอยากเรียนรู้มากขึ้น
             4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
                          
คือ ผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว อวัยวะไม่สมส่วน มีความผิดปกติของกระดูก กล้ามเนื้อ
    เกร็งหรืออ่อนแรง ผิดปกติของระบบประสาท     นอกจากจะได้รับการช่วยเหลือด้านการแพทย์
    แล้วทางด้านการศึกษาต้องได้รับการช่วยกระตุ้นฝึกฝนทั้งจากครูและผู้ปกครอง อุปกรณ์และวิธีการ
    ช่วยจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพของความพิการของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น โต๊ะ เก้าอี้
    ปากกา ดินสอน จาน ช้อน   จะต้องมีขนาดและรูปทรงที่เหมาะตามสภาพของแต่ละคน
    เพื่อความสะดวกต่อการหยิบ จับ ถือ ด้วย
             5. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
                          
คือ บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านการใช้ภาษา การฟัง การคิด การพูด การอ่าน
    การเขียน เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรืออาจจะหลายๆ เรื่องในคนเดียวกันก็ได้   สื่อที่จะนำมาใช้ครูผู้สอน
    จะต้องพิจารณาว่าควรจะแก้ไขอย่างไร   เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์จากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
    เด็กจะเกิดการเรียนรู้ซึ่งทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น   หากเด็กได้ลงมือปฏิบัติเอง   จึงควรเน้นสื่อของจริง
    ที่ผู้เรียนคุ้นเคย สิ่งพิมพ์ หุ่นจำลอง บัตรคำ บัตรภาพ วีดีทัศน์ ฯลฯ
             6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
                          
คือ บุคคลซึ่งมีปัญหาในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ไม่สามารถเข้าใจภาษาที่ตนพูดหรือ
    คนอื่นพูด เมื่อสื่อสารไม่ได้ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมในสังคม นอกจากจะได้รับการแก้ไข
    การพูด ฝึกพูด เรียนภาษามือ ต้องใช้สื่อที่เป็นของจริง หุ่นจำลอง สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวที่รู้จักและสนใจ
    เพื่อช่วยในการรับรู้จากนามธรรมเป็นรูปธรรมได้
             7. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
                          
คือ ผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ การแสดงออกแบบก้าวร้าว ต่อต้าน หากไม่ได้รับการปรับ
    พฤติกรรม หรือการแก้ไข สิ่งที่แสดงออกด้านไม่ดีต่างๆ ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็น
    ปัญหาต่อสังคมได้ สื่อที่จะนำมาช่วยในการเรียนการสอนควรเป็นสิ่งที่ผู้เรียนคุ้นเคย  ปลอดภัย
    เป็นของจริง หรือสื่อธรรมชาติ สิ่งพิมพ์ต่างๆ สิ่งที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ วีดีทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ
             8. บุคคลออทิสติก
                          
คือ บุคคลซึ่งมีปัญหาด้านการสื่อสาร สังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มักจะมีภาษา
     หรือความเข้าใจภาษาของตนเอง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง จะพูดหรือทำเรื่องซ้ำๆ ที่ตนสนใจ
     จะต้องแก้ไขเรื่องการสื่อสารก่อนจึงจะทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ได้ ต้องจัดสื่อการเรียนรู้
     ทั้งเรื่อง การสัมผัส การรับรสชาติ สิ่งที่ปลอดภัยและเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจใกล้ตัวคุ้นเคย อย่างค่อย
     เป็นค่อยไปเพราะเด็กรับสิ่งแปลกใหม่ยาก   ลักษณะพิเศษของเด็กออทิสติกบางคนจะทำในสิ่งที่
    ตนสนใจได้ดี ผู้ปกครองหรือผู้ฝึกต้องศึกษาเพื่อส่งเสริมสิ่งที่เด็กทำได้ดี
             9. บุคคลพิการซ้อน
                          
บุคคลซึ่งมีความพิการมากกกว่างหนึ่งอย่างอยู่ในคนเดียวกัน เช่น มีความบกพร่องทาง
    การเห็นกับบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น การช่วยเหลือบุคคลพิการซ้อน ต้องศึกษาว่าเด็กคนนั้น
    บกพร่องทางไหน แล้วจึงให้ความช่วยเหลือตามสภาพนั้น การฝึก การกระตุ้น หรือการนำสื่อมาใช้
    ก็จะต้องจัดให้ตามลักษณะสภาพของแต่ละบุคคล

                          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเลือกนำสื่อแต่ละชนิดมาใช้ ต้องเข้าใจและศึกษาถึงพฤติกรรม
    ของเด็กด้วย เพราะเด็กแต่ละคนมีความต้องการและสนใจที่แตกต่างกัน มีข้อจำกัดทางร่างกาย
    ต่างกัน ผู้ปกครองหรือครูผู้สอนจึงต้องเอาใจใส่และค้นหาเลือกสรรหาสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม
    มาใช้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้ หรือเพื่ออำนวยความสะดวกให้เด็ก  แต่ถึงแม้ว่า
    สื่อการเรียนรู้จะมีความสำคัญอย่างไรก็ตาม     สิ่งสำคัญที่สุดที่จะสามารถช่วยให้ลูกมีพัฒนาเจริญ
    เติบโตเหมาะสมตามวัยได้ดีที่สุด ก็คือ
“ การสัมผัสด้วยความรัก ความอบอุ่น จากพ่อแม่ เป็นสื่อ
    ที่มีคุณค่าและสำคัญที่สุด สำหรับลูก”







                                                                             เอกสารอ้างอิง                    กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). คู่มือรายการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและ                                        ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตำรวจ เขตดุสิต.                    ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1.(2551) วารสารศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1                                        ฉบับรวมบทความวิชาการการศึกษาพิเศษ. นครปฐม : บริษัท ธรรมรักษ์                                        การพิมพ์ จำกัด.
                    ออทิสติก
. นายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. http://www.happyhome meclinic.com/                                        
au 02-autism.htm.เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552.

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

 

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
นิทานคือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่าความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจ ให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทานจากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป
เด็กอายุ 0 - 1 ปี นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และ เขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติกหนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
เวลาเด็กดูหนังสือภาพพ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย
เด็กอายุ 2 - 3 ปี เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษาและเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก
เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้นหากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่านของเด็กในอนาคต
เด็กอายุ 4 - 5 ปี เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่ายส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟังพร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

          การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย    
                นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป




         เด็กอายุ 0 - 1 ปี
               นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย
               เด็กอายุ 2 - 3 ปี
              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
                                                เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก


    หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า
              วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก
     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง


ที่มา  : http://www.sk-hospital.com/~ob/parent_school/nitan.htm

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

 

โรคขาดสารอาหารที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 4 โรค คือ
1. โรคขาดสารอาหารโปรตีนและกำลังงาน
2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
3. โรคขาดสารไอโอดีน
4. โรคขาดวิตามิน
1.โรคขาดสารอาหารโปรตีนและกำลังงาน โรคนี้พบมากในเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียน (อายุต่ำกว่า 5 ปี) ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวเร็ว มีความต้องการอาหารทั้งปริมาณและคณภาพยิ่งกว่าวัยอื่น ๆ เมื่อเด็กได้รับอาหารโปรตีนและกำลังงานไม่เพียงพอจึงเกิดโรคนี้ขึ้น ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อง่าย เช่น โรคท้องเสีย หวัด ปอดบวม เป็นต้น ถ้าเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงอาจถึงตายได้ แต่ถ้าไม่ตายจะทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองไม่ดีเท่าที่ควร
สาเหตุ
ทางตรง เกิดจากการที่ทารกและเด็กได้รับอาหารที่ให้โปรตีนและกำลังงานไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ซึ่งอาจเนื่องมาจาก
1. การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้นมผสมไม่ถูกส่วนหรือเลี้ยงทารกด้วยนมข้นหวาน
2. เมื่อถึงวัยอันควร เด็กไม่ได้รับอาหารตามวัยที่ถูกต้อง เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์
3. การเตรียมอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจจะทำให้เด็กท้องเสียและเกิดโรคติดเชื้ออื่น ๆ
ทางอ้อม เกิดปัญหาความยากจน ไม่มีจะกิน
ผลกระทบของโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน
1. ผลต่อเด็ก
1.1 ถ้าเป็นรุนแรงเด็กอาจตายได้ ทำให้อัตราตายขอทารก และเด็กวัยก่อนเรียนสูง
1.2 ผลต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายมีน้ำหนักน้อย และตัวเล็กกว่าปกติ ภูมิต้านทานโรคที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายและเมื่อเป็นแล้วมักจะรุนแรง เช่น โรคท้งร้วง หัด อัตราตายจะสูงกว่าเด็กปกติ
1.3 ผลต่อสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ ถ้าเป็นโรคนี้ เมื่ออายุยังน้อย จะมีจำนวนเซลล์ในสมองน้อยกว่าปกติ และขนาดของสมองก็เล็กกว่าปกติ จึงทำให้การพัฒนาทางสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ด้อยไปด้วย2. ผลต่อครอบครัว ทำให้สิ้นเปลืองในการดูแลรักษาลูกที่เจ็บป่วยบ่อย ๆ และเสียเวลาในการทำมาหากิน
3. ผลต่อประเทศชาติ ทำให้ได้พลเมืองที่ไม่มีคุณภาพทั้งด้านสติปัญญา การเรียนรู้ และด้านร่างกาย เป็นผลทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา
การป้องกันการขาดโปรตีน เนื่องจากปัญหาโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน มีความสำคัญมากต่อสุภาพและคุณภาพชีวิตคน จึงควรร่วมมือร่วมใจป้องกันทุกฝ่าย ทั้งในชุมชนและในทุกหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
1. ค้นหาปัญหาและการเฝ้าระวังติดตามทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด 5 ปี ทุก ๆ 3 เดือน
2. ให้อาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโปรตีน และกำลังงานแก่เด็กอย่างเพียงพอ
3. เพิ่มผลผลิตอาหาร
4. ให้โภชนศึกษา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องอาหารและโภชนาการแก่บิดามารดาของเด็ก


ที่มา http://www.dekdern.com/


2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคนี้พบมากในกลุ่มหญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน โดยมีเครื่องชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดภาวะโลหิตจางของประชากรกลุ่มอายุต่าง ๆ ใช้ค่าเฮโมโกบิล หรือค่าเฮมาโตคริต ตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก โดยกลุ่มประชากรดังกล่าวหากมีค่าต่ำกว่าที่กำหนด หมายถึง อยู่ในภาวะโลหิตจาง


สาเหตุของการขาดสารอาหารที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางส่วนใหญ่ เนื่องมาจาการขาดธาตุ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง คือ


1. ได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
2. เป็นโรคพยาธิปากขอ
3. สูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น เสียเลือดจากระบบทางเดินอาหาร จากการรับประทานยาแก้หวัดเป็นประจำ


อาการของโรคโลหิตจาง


1.เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แม้ทำงานเล็กน้อยก็หายใจหอบ
2. รู้สึกหัวใจเต้น ปวดศีรษะ หงุดหงิด มึนงง เป็นลมวิงเวียน หน้ามืดเสมอ
3. เล็บเปราะบาง และซีด
4. ลิ้นเลี่ยนเรียบ ไม่มีตุ่ม และอักเสษ
5. ผิวพรรณซีดและตาซีด


ผลเสียของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก


1. การขาดธาตุเหล็ก เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และประสิทธิภายการทำงานของร่างกายในทุกกลุ่มประชากร
2. ในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดต่ำและมีอัตราตายของทารกขณะคลอดและหลังคลอดสูง
3. ในทารก และเด็กก่อนวัยเรียน จะทำให้เจริญเติบโต และการพัฒนาของร่างกายและสมองช้า และมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็กวัยเรียนด้วย
4. ทำให้ระบบการป้องกันโรคของร่างกายต่ำ


การป้องกันการขาดธาตุเหล็ก


1. ให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และผักใบเขียว
2. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคพยาธิ โดยการปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
3. การเสริมธาตุเหล็ก ในรูปของยาเม็ดหรือน้ำไซรับ ในกลุ่มประชาชนเป้าหมาย คือหญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
ที่มา healthnet.md.chula.ac.th

3. โรคขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาโภชนาการที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่พบมากทีในแถบถิ่นทุรกันดาร แถบภูเขาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคกลาง รวมทั้งภาคใต้ของประเทศสาเหตุ 1. ปัจจัยทางธรรมชาติ อันได้แก่ ดินและน้ำในพื้นที่มีปัญหา ซึ่งพบว่าทั้งดินและน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคกลาง มีปริมาณไอโอดีนในดินและในน้ำต่ำกว่าในกรุงเทพฯ ประมาณ 4-7 เท่า และยังพบว่าพืช ผัก ชนิดเดียวกับในบริเวณที่มีอัตราคอพอกสูงมีปริมาณไอโอดีนต่ำ 2. การกระจายอาหารที่มีไอโอดีนสูงไม่ทั่งถึง เนื่องจากการคมนาคมลำบาก ไม่มีอาหารทะเลสำหรับบริโภคสม่ำเสมอประกอบกับอาหารทะเลราคาแพง ไม่มีอำนาจซื้อเพราะเศรษฐกิจไม่ดี 3. ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจต่อโรคนี้ ตลอดไปจนถึงความรู้ถึงสาเหตุและวิถีทางป้องกันโรคที่จะนำไปปฏิบัติได้ง่าย

ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีนต่อร่างกาย

เมื่อร่างกายขาดสารไอโอดีน มีผลทำให้ร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่สำคัญและประการ เรียกว่าภาวะผิดปกติจากการขาดสารไอโอดีน (Iodine Deficiencies Disorders หรือ IDD) จะมีอาการดังนี้
1. คอพอก หมายถึง ต่อมไทรอยด์ที่คอโตกว่าปกติ ถ้าโตมาก ๆ จะกดหลอดลม ทำให้ไอ สำลัก หายใจลำบาก ถ้ากดหลอดลมอาหารจะกลืนลำบาก
2. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีไทรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะมีอัตราการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ลดลง การนำสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ตลอดจนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะเป็นไปได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายหยุดชะงัก เติบโตช้าลงได้ ในผู้ใหญ่ มีอาการเกียจคร้าน อ่อนเพลีย เชื่องช้า ง่วงซึม ผิวหนังแห้ง ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ ท้องผูก เสียงแหบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในวัยเด็ก นอกจากอาการที่แสดงดังกล่าวแล้ว ยังพบอาการเชื่องช้า ทางจิตใจและเชาว์ปัญญาอีกด้วย ในวัยแรกเกิด มีความสำคัญและรุนแรงมากจะมีอาการทางสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ไม่สามารถแก้ไขได้ เรียกว่าภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในเด็กแรกเกิด
3. ครีตินนิซึม หรือเอ๋อ แม่ที่ขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ลูกที่คลอดออกมาจะมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำตั้งแต่แรกเกิด ถ้าแม่มีการขาดไอโอดีนรุนแรง อาจทำให้ทารกตายตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้ง หรือพิการตั้งแต่กำเนิด และถ้าทารกได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 20ไมโครกรัม/วัน จะพบครีตินมิซึม เฉพาะในทารกจะแสดงอการผิดปกติทางร่างกายติดต่อไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 ผู้ป่วยมีสติปัญญาต่ำรุนแรง หูหนวก เป็นใบ้ มีความผิดปกติทางระบบประสาทเด่นชัด คือ การกระตุกตาเหล่ ท่าเดินผิดปกติ และกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ลักษณะที่ 2 ผู้ป่วยมีสติปัญญาต่ำมาก การเจริญเติบโตทางร่างกายช้ามากจะเตี้ยแคระแกร็น ผิวหนังหนา ปวดกดไม่บุ๋มแต่หูไม่หนวก ไม่เป็นใบ้โดยทั่วไปต่อมไทรอยด์ไม่โต

การป้องกันการขาดสารไดโอดีน

1. เฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน เพื่อประเมินสถานการณ์ทางโรคโดย ก. ตรวจคอพอกในเด็กนักเรียนประจำปี ข. การตรวจหาระดับไทรอยด์สติบูเลติ้งฮอร์โมน (TSH) ในเลือดจากสายรกของทารกแรกเกิด ค. การตรวจหาระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กวัยเรียนในจุดที่มีระบาดสูง ทำปีละครั้ง
2. ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเรื่องการใช้เกลือเสริมไอโอดีน และน้ำปลาเสริมไอโอดีน ในการปรุงอาหารอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน
3. การเสริมไอโอดีน
ก. การดื่มน้ำเสริมไอโอดีน ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 4 แก้ว โดยหยดสารละลายไอโอดีนเข้มข้นที่บรรจุในขวดเดี่ยวมีหลอดหยด หยดลงในน้ำดื่มอัตราส่วน 2 หยดต่อน้ำ 10 ลิตร
ข. การใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหาร ควรใช้เกลือเสริมไอโอดีนประกอบอาหารอย่างน้อยวันละ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน เพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน
ค. การใช้น้ำปลาเสริมไอโอดีน สามารถใช้สารละลายไอโอดีนเข้มข้นที่บรรจุในขวดเดี่ยว หยดลงในน้ำปลา 6 หยด/ขวด

ที่มา http://www.wedding.co.th/

4. โรคขาดวิตามินเอ เป็นโรคที่พบในเด็กวัยทารก และเด็กวัยก่อนเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน


สาเหตุ

1. เกิดจากการกินอาหารที่ขาดวิตามินเอ ซึ่งมีมากในผลไม้ ผักสีเขียว เหลือง ตับสัตว์ ไข่ นม นอกจากนี้อาจขาดอาหารอื่น ๆ ด้วย เช่น ไขมัน ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดซึมและเก็บสะสมวิตามินเอในร่างกาย 2. การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้นมข้นหวานเลี้ยงทารกและไม่ได้รับอาหารตามวัยที่มีวิตามินเอผลของการขาดวิตามินเอ การขาดวิตามินเอ ก่อให้เกิดอาการ ดังนี้ 1. ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก อำนาจต้านทานโรคต่ำ 2. อาการทางตา จะมีอาการเสื่อมของการเห็นในที่มืด มีอาการตาฟางมองไม่ชัดเจนในเวลากลางคืนและในที่มืด ที่ตาขาวมีเกล็ดกระดี่เป็นกลุ่มฟองสบู่ ตาดำจะขุ่นขาวเป็นแผล และในที่สุดตาบอดสนิทอย่างถาวร 3. อาการที่เกี่ยวกับผิวหนัง ผิวหนังจะแห้งเป็นเกล็ด หรือเกิดเป็นตุ่มสาก ๆ บนผิวหนังเรียก Follicular hyperkeratosisโดยเฉพาะบริเวณข้อศอก หัวเข่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของตุ่มขุมขน ถ้าเป็นมาก ๆ ผิวหนังจะขรุขระ คล้ายหนังคางคก
การป้องกันการขาดวิตามินเอ
1. กินอาหารพวกผลไม้ ผักสีเขียวให้มาก พวกไข่ ตับ นม ร่วมกับการบริโภคอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกวัยก่อนเรียน หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
2. ให้โภชนศึกษาแก่ประชาชน โดยการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อาหารเสริมประเภทต่างๆสำหรับเด็ก

ข้าว แป้งอาหารเสิรมชนิดแรกของเด็ก คือ แป้ง อาหารประเภทแป้งเป็นอาหารที่นุ่ม ไม่เป็นกาการะคาย สามารถเตรียมได้ให้มีลักษณะคล้ายนม ความข้น ความเหลวควรจะให้เหมาะกับวัยของเด็ก อาหารแป้งที่ให้เด็กจะใช้ข้าว แป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม แป้งสาลี สาคูเม็ดเล็ก

ผัก
เด็กควรจะได้เริ่มหัดกินผักเมื่ออายุ 3 เดือน คือพร้อมๆกับเนื้อ โดยต้มให้เปื่อย บดหรือยี ควรให้วันละ 1 ครั้งก่อน ผักแต่ละอย่างที่ให้เด็กควรจะให้ซ้ำกัน 4-5 วันจึงเปลี่ยนเป็นผักชนิดใหม่ เพื่อให้เด็กชินกับการกินผักชนิดนั้นก่อน เพื่อให้เด็กกินผักเป็นทุกชนิดเพราะผักแต่ละอย่างมีความมากน้อยในวิตามิน เกลือแร่ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตต่างกัน

เมื่อเด็กกินผักแล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่นเป็นผื่น บวมแดงบริเวณก้น ท้องเสีย อาการเช่นนี้จะเกิดทันทีหลังจากกินผักนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรจะหยุดป้อนผักชนิดนั้นก่อน ค่อยเริ่มใหม่ในเดือนต่อไป หรือทิ้งระยะสัก 2 เดือนจึงเริ่มใหม่

การทำผักให้เด็กอายุ 3 เดือน ผักที่ให้ควรต้องต้มให้เปื่อย บดหรือยีให้ละเอียด เลือกผักที่กากน้อย เช่นใบผักโขม มันเทศ ใบผักบุ้ง ใบตำลึง ฟักทอง มันฝรั่ง วิธีทำอาหารผักให้เด็กเล็กๆง่าย ก่อนอื่นต้องเลือกผักที่สด ใหม่ ไม่แก่ ล้างให้สะอาด แล้วต้มใช้หม้อเล็กๆปิดฝาต้ม เคี่ยวให้ผักเปื่อยเป็นใช้ได้ ไม่ควรใส่น้ำมาก และควรจะใช้น้ำต้มผักนั้นด้วย เพราะเกลือแร่และวิตามินจะอยู่ในน้ำต้มผักนั้นด้วย เติมเกลือเพียงเล็กน้อยลงในผักที่ต้ม

กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี เพื่อความแน่ใจว่าเด็กจะไม่ท้องอืด เพราะผักประเภทนี้เมื่อกินแล้วจะทำให้เกิดแก๊ซได้ อาจทำให้เด็กท้องอืด เสียดท้องได้ ผักประเภทนี้ ควรจะให้เมื่อเด็กอายุ 9 เดือนหรือ 1 ขวบขึ้นไป ผักประเภทหัวและราก เช่น ไชเท้า แครอท หอมหัวใหญ่ บวบ ถั่วงอกและผักอื่นๆควรจะเริ่มให้เด็กเมื่ออายุ 3-4 ขวบขึ้นไป เด็กเมื่อโตขึ้นย่อมมีความรู้สึกเรื่องรสและกลิ่นดีขึ้นเป็นลำดับ นอกจากเด็กจะมีความรู้สึกเรื่องรสแล้ว ยังมีความรู้ในเรื่องกลิ่น ฉะนั้นในการเลือกผักทำอาหารให้เด็กต้องดูวัยของเด็ก เปลี่ยนแปลงวิธีการหุงต้มผักตามวัยของเด็ก เช่น จากผักบดเป็นต้มเปื่อย เป็นอบ เป็นผัด และให้เด็กได้หัดกินผักสดบ้างเมื่ออายุ 3 ขวบขึ้นไป เริ่มทดลองให้กินผักที่มีรสหวาน เช่น แตงกวา มะเขือเทศ

ครั้งแรกเมื่อให้ผักแก่เด็ก ควรเริ่มจากผักใบเขียว เช่น ใบตำลึง ใบผักบุ้ง ผักโขม โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ช้อนชา แล้วจึงค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็น 2 ช้อนโต๊ะ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 1/4 ถ้วย การให้อาหารประเภทผักควรจะเริ่มให้ในมื้อบ่ายหรือเที่ยงก่อน โดยผสมกับข้าวและเนื้อสัตว์ต่างๆ ต่อมาจึงเพิ่มให้มื้อเย็นอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เมื่อเด็กกินอาหารทั้ง 3 มื้อ มือ้เช้าควรจะเป็นน้ำผลไม้ ผลไม้สด มื้อกลางวันและมื้อเย็นควรจะให้ทั้งผักใบเขียวและผักสีเหลือง

ผักที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรเลือกผักที่สดและใหม่ และควรเป็นผักที่หาได้ในท้องถิ่น ล้างผักให้สะอาดโดยใช้น้ำมากๆ ล้างหลายๆครั้งก่อนที่จะทำเป็นอาหารให้เด็ก

เนื้อสัตว์เนื้อแลไก่ควรจะเริ่มให้เมื่อเด็กอายุ 3 เดือน เนื้อและไก่เป็นอาหารที่ให้สารอาหารโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง ฉลาด เนื้อและไก่ที่ให้เด็กควรเลือกส่วนที่ไม่มีไขมัน ถ้าเป็นไก่ควรจะเอาหนังออก เริ่มแรกในการให้อาหารประเภทนี้แก่เด็ก ควรจะใช้วิธีต้ม อบ ตุ๋น แล้วจึงบดหรือสับให้ละเอียด การเริ่มให้อาหารประเภทเนื้อ ควรให้ตอนมื้อเที่ยงโดยเริ่มจาก 2-3 ช้อนชาก่อน โดยผสมกับข้าวบดผักบด

การทำอาหารประเทภเนื้อ สำหรับเด็กเล็กไม่ควรใช้เครื่องเทศ ผงชูรส หรือสารเคมีต่างๆที่ช่วยในการเปื่อย ให้เปื่อยโดยวิธีต้มเคี่ยว แล้วจึงบดหรือสับให้ละเอียด ในการทำแต่ละครั้ง ไม่ควรทำไว้มากเกินที่ป้อนใน 1 วันหรืออย่างมากได้เพียง 2 วัน เมื่อเหลือเก็บส่วนที่เหลือในกล่องปิดฝาให้แน่นใส่ตู้เย็น เมื่อจะใช้จึงอุ่น

การเลือกเนื้อไก่ควรเลือกไก่อ่อน ไก่อ่อนจะมีสีขาวเนื้อจะนุ่ม ถ้าไก่แก่เนื้อจะหยาบ เนื้อควรเลือกเนื้อสันในหรือเนื้อส่วนตะโพก หมูก็ควรใช้หมูที่ไม่ติดมันเลือกใช้แต่หมูเนื้อแดง

ตับตับเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้ทั้งอาหาร โปรตีนและธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังให้วิตามินเอ ไรโบเฟลวิน และไนอาซีน ตับที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรจะใช้ตับไก่ ตับหมู เลือกตับที่ไม่ขม ควรทำตับให้เด็ก ทำเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์อื่นๆและให้เมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือน เช่นเดียวกับเนื้อ

ไข่
เด็กอายุประมาณ 3-4 เดือน ควรจะเริ่มให้ไข่แดงลวกยางมะตูม โดยเริ่ม 1 ช้อนชาก่อนแล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 1 ฟองไข่แดง ส่วนใหญ่จะเริ่มให้ไข่ทั้งฟองเมื่อเด็กอายุ 10 เดือนขึ้นไป โดยให้ไข่ต้มยางมะตูมยีผสมกับข้าวต้มเปื่อย ถ้าเด็กกินแล้วไม่เกิดอาการผื่นคัน อาเจียน ก็ควรจะให้ต่อไปอย่างน้อยเด็กอายุระหว่าง 10 เดือน ถึง 2 ขวบ ควรจะให้กินไข่อาทิตย์ละ 5 ฟอง

ปลา
ควรให้เด็กกินปลาเมื่ออายุ 10 เดือน ตามปกติเด็กจะชอบปลา เพราะเนื้อปลาส่วนใหญ่จะนุ่ม รสหวาน ไม่ต้องเคี้ยวมาก ปลาให้สารอาหารประเภทโปรตีนและให้ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรงเจริญเติบโต เพราะแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้จะทำงานร่วมกัน หน้าที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ในวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการแร่ธาตุนี้มากที่สุด ปลาที่ใช้ทำอาหารให้เด็กควรเลือกปลาที่มีเนื้อมาก ไม่มีไขมัน สด ใหม่ เช่น ปลานิล ปลาสำลี ปลาตาเดียว ปลากะพง เป็นต้น การทำอาหารปลาสำหรับเด็ก ใช้วิธี นึ่ง อบ ต้ม ย่างหรือทอดก็ได้ แต่ต้องเอาก้างออกให้หมดโดยใช้นิ้วมือบี้ การใช้มือบี้จะช่วยให้ปลอดภัยและแน่ใจว่าไม่มีก้างติด

ผลไม้สดเด็กอายุ 3 เดือน ควรจะเริ่มให้กินกล้วยสุกครูดเอาแต่เนื้อกล้วยแล้วจึงบด เริ่ม 1 ช้อนชา แล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควรจะให้ในช่วง 10 โมง หรือบ่าย นอกจากกล้วยผลไม้สุกอื่นๆเช่นมะละกอสุก ฝรั่งสุก มะม่วงสุก ถ้าต้มเปื่อยหรือตุ๋นแล้วบดหรือยีให้เด็กก็ได้ เปลี่ยนจากกล้วยเป็นมะละกอตุ๋น ฝรั่งสุกตุ๋น แล้วบด

เด็กอายุ 8 เดือน ควรจะได้เริ่มกินผลไม้สด เลือกผลไม้ที่มีรสหวาน หัดให้เด็กหยิบใส่ปากเอง ใช้ผลไม้สุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอคำ ผลไม้ที่ใช้ได้ เช่น มะละกอสุก ฝรั่งสุก แตงไทย องุ่น ลอกเปลือกออกเอาเมล็ดออกไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะทำเลอะเทอะ เมื่อป้อนเสร็จจึงค่อยทำความสะอาด

น้ำผลไม้น้ำผลไม้จะให้เมื่อเด็กอายุ 4 เดือน ควรจะให้น้ำผลไม้ที่คั้นจากผลไม้สด ถ้าจะใช้น้ำผลไม้กระป๋องหรือขวด จะต้องเลือกชนิดที่เป็นของเด็ก ซึ่งจะมีสลากบอกข้างขวดหรือกระป๋องว่าใช้สำหรับเด็กได้ เราต้องการให้เด็กได้วิตามินซี จึงให้น้ำผลไม้แก่เด็ก น้ำผลไม้ที่ให้เด็กอายุ 4 เดือน ควรจะใส่ขวดให้ดูด ให้ 1 ออนซ์แล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 3-4 ออนซ์ น้ำส้มคั้นใช้ส้มเกลี้ยง ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง ล้างเปลือกเช็ดให้แห้งแล้วจึงผ่า มือและเล็บผู้คั้นควรจะสะอาด เมื่อให้ครั้งแรกควรจะให้ครึ่งผลก่อน ครั้งแล้วกรองผสมน้ำสุก ใช้น้ำส้ม 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กอายุ 5 เดือนเพิ่มเป็น 3-4 ออนซ์ โดยไม่ต้องผสมน้ำและกรอง

เมื่อเด็กอายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรจะเริ่มหัดให้เด็กได้ดื่มน้ำผลไม้จากแก้ว เด็กต้องการวิตามินซีวันละ 4 มิลลิกรัม แต่ต้องการทุกๆวัน น้ำส้ม 3 ออนซ์ ให้วิตามินซีถึง 50 มิลลิกรัม

เครื่องดื่ม
เมื่อเด็กอายุ 1 ขวบ เขาควรจะได้ดื่มเครื่องดื่มเป็นของว่างแทนน้ำผลไม้ หรือนมบ้างในบางมื้อ เป็นการฝึกนิสัยในการกินที่ดีให้กับเด็ก เด็กจะได้เป็นคนไม่เลือกอาหาร เครื่องดื่มที่เราควรจะให้เด็กเราต้องคำนึงถึงสารอาหารที่เด็กจะได้รับ เพราะเมื่อเด็กดื่มแล้วอาจจะอิ่ม ทำให้กินอาหารได้น้อยลง เครื่องดื่มสำหรับเด็กจึงควรให้สารอาหารโปรตีนด้วย เลือกเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมอยู่ในส่วนผสมของเครื่องดื่มนั้นๆ และควรทำเองดีกว่าที่จะซื้อชนิดบรรจุกระป๋องหรือขวด เพราะอาจจะหวานมากไปสำหรับเด็กและเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องหรือขวดมักใส่ยากันบูดไม่เหมาะให้เด็กดื่ม ส่วนผสมของเครื่องดื่มควรเลือกผลไม้สดใหม่ และมีในฤดูกาล ไม่หวานจัด เช่นผลไม้ปั่น กล้วยผสมนม น้ำส้มกับไอศกรีม

อาหารบริหารฟัน
เด็กเมื่อฟันขึ้น ควรให้ขนมประเภทที่ออกแรงขบเคี้ยวให้เด็กถือหรือป้อนเอง แต่ขนมควรจะเป็นชนิดที่ละลายได้ในปาก เคี้ยวขาดง่ายสำหรับวัยของเขา เช่น บิสกิต ขนมปังแท่ง คุกกี้ ขนมผิง ทองม้วน ครั้งแรกบิเป็นชิ้นเล็กๆวางไว้ในจานให้เขาหยิบเอง แล้วจึงให้เป็นชิ้นเมื่อเขาชินและเข้าใจถึงวิธีการป้อนขนมด้วยตนเอง เมื่อเริ่มให้ถ้าให้ชิ้นใหญ่เดี๋ยวเด็กอาจจะใส่ปากทั้งอันอาจสำลักแล้วเข็ดไม่กล้ากินอีกต่อไป

เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป ควรจะได้เปลี่ยนนมเป็นนมแบบผู้ใหญ่ดื่ม และควรจะได้กินอาหาร 3 มื้อ นมเป็นเพียงอาหารเสริมระหว่างมื้อ เมื่อเด็กอายุครบ 1 ขวบ ต้องพยายามให้เด็กกินอาหาร 3 มื้อให้ได้ เพื่อที่จะให้เด็กได้สารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เปลี่ยนลักษณะของอาหารให้เหมาะกับความเจริญเติบโตของเด็ก

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการทางสติปัญญาของลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 2 ปี article
       
         ลูกถือได้ว่าเป็นเด็กนักเรียนที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะพึงเจอ  เขาจะตั้งอกตั้งใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากคุณมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันโดยไม่มีขอบเขตใดมาจำกัดความกระหายใคร่รู้ของเขา และเขาก็ตอบสนองเป็นอย่างดีต่อสิ่งที่คุณพยายามจะให้ เพราะเขาอยากให้คุณรู้สึกพอใจ ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้คงทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นกับการที่ได้สอนเขาด้วยเช่นกัน ทารกต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับทุกเรื่องนับตั้งแต่เขาลืมตาดูโลก โปรดอย่าลืมว่าทารกมีประสาทสัมผัสทั้ง 6 ประเภท และเขาก็อยากเรียนรู้ให้ครบทารกมีความกระตือรือร้นอย่างสูงที่จะได้เจอะเจอ กับภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัสใหม่ และเขาไม่เคยเด็กเกินกว่าที่จะเรียนรู้ เพียงแต่คุณต้องดัดแปลงวิธีและเนื้อหาของสิ่งที่จะสอนให้เหมาะกับวัยของเขา เท่านั้น ไม่ควรให้เด็กทำสิ่งที่ยากเกินอายุ เพราะจะทำให้เขาเครียดสูญเสียความมั่นใจในตนเอง และอาจรู้สึกไม่ดีกับคุณในที่สุด ควรช่วยเขาเปิดโลกทัศน์ แต่ไม่บังคับให้เขาทำในสิ่งที่คุณต้องการ คุณแม่ควรสังเกตลักษณะเฉพาะของลูก และเปิดโอกาสให้เขาแสวงหาอย่างเต็มที่ การเรียนรู้ 0-1 ขวบ
อย่าปล่อยให้ช่วย 6 สัปดาห์แรกในชีวิตของลูกคุณผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ หลายๆ คนมีความคิดผิดๆ ว่าการที่ทารกไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่ค่อยส่งเสียงรบกวน อันที่จริงการขาดสิ่งเร้า (เสียง ภาพ สัมผัส) จะทำให้เขาไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งไม่สามารถเรียนรู้ได้ จริงๆ แล้วพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาของทารกเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของชีวิต เช่นเดียวกับการเติบโตทางกายด้านอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าร่างกายเติบโตขึ้น เช่น น้ำหนักมากขึ้น หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายเริ่มทำงานประสานกันมากขึ้น
บุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตของทารก คือคนที่ดูแลเขามากที่สุด ซึ่งผู้ที่ทำกิจกรรมนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคุณแม่ ดังนั้นคุณจึงถือเป็นครูคนสำคัญที่สุดในชีวิตลูก เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ เราจะเรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุด และจดจำสิ่งที่เรียนได้มากที่สุด หากสิ่งนั้นถูกถ่ายทอดจากผู้ที่เราชื่นชอบและสื่อสารกันได้ดี ยิ่งถ้าเรามีความรู้สึกใกล้ชิดและเข้าใจกันและกันกับผู้ที่สอนเราด้วยแล้วก็ ยิ่งซาบซึ้งกับสิ่งที่เรียนและจดจำไปได้นานแสนนาน สิ่งที่เกิดขึ้นกับทารกก็ไม่ต่างไปจากนี้ทารกจะสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและ เร็วขึ้นหากเขาเกิดความรู้สึกผูกพันกับครูคนแรกตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิต นอกจากคุณแล้ว ผู้ที่จะสนิทสนมกับลูกมากเป็นลำดับต่อไปก็คือสามีของคุณ กล่าวได้ว่าผู้เป็นพ่อและแม่ควรสร้างความผูกพันอันแน่นแฟ้นกับทารกให้เร็ว ที่สุดเท่าที่จะทำได้และช่วยสอนให้เขารู้จักสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้
สิ่งที่คุณสอนให้กับลูกไม่จำเป็นต้องมีแบบแผน มีกฎเกณฑ์หรือมีเป้าหมายใดๆ ตายตัว ว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้ แต่คุณควรสอนให้ลูกรู้สึกสนใจใคร่รู้ในสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้เขาได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ อธิบายทุกอย่างที่เห็น และให้เขาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคุณ คุณควรคอยกระตุ้นและสนับสนุนเขาตลอดเวลา ชมเชยลูกแม้ว่าสิ่งที่เขาทำสำเร็จจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยคอยเป็นกำลังใจ เมื่อลูกล้มเหลวผิดพลาดหากไม่มีคุณคอยอยู่เคียงข้างเด็กจะขาดความมั่นใจไป
ลูกของคุณเข้าใจอะไรได้บ้าง
ทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณเมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ และเขาสามารถจดจำใบหน้าของคุณได้ เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน และพยายามมองตามใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
อายุ 4 สัปดาห์ ถ้า หากคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ทารกในระยะที่เขามองเห็นคุณได้ ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อคุณคุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย การเผยอปากขึ้นและลงเมื่อเขาร้องไห้เขาจะหยุดร้องเมื่อคุณอุ้มเข้าสู่อ้อมอก เพราะสำหรับทารกแล้วคุณคือผู้ที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่สุด ในช่วงนี้ทารกจะเลียนแบบสีหน้าและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนใบหน้าของคุณโดยเขาสามารถบังคับเนื้อบนใบหน้าให้ยิ้มและแสดงความรู้สึก ต่างๆ ได้
อายุ 6 สัปดาห์ : ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ : ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2-3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองจ้องวัตถุนั้นเมื่อคุณขยับของไปมา
อายุ 3 เดือน : ทารก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี ทารกจะคอยหันมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น
อายุ 4 เดือน : ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย เขาชอบให้คุณจับนั่งจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เมื่อได้ยินเสียงเขาจะหันไปมองทิศที่มาของเสียงนั้น
อายุ 5 เดือน : ทารกจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัว และความโกรธออกมา
อายุ 6 เดือน : ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
อายุ 8 เดือน : ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” เขาจะสามารถส่งเสียงเหมือนไอเบาๆ ได้เพื่อให้คุณหันมาสนใจเมื่อเขาต้องการอะไรบางอย่างทารกอาจจะเริ่มอยากรับ ประทานอาหารเองเมื่อถึงช่วงอายุนี้จะเริ่มหัดพูดแล้ว คุณควรฝึกให้ลูกพูดด้วยการมองเขา และขยับปากเป็นคำพูดทีละคำ เพื่อเขาจะเลียนแบบการขยับปากของคุณได้
อายุ 9 เดือน : ทารกจะเริ่มแสดงความปรารถนาของเขาให้คุณรับรู้ เช่น รั้งคุณไว้เมื่อคุณพยายามจะล้างหน้าให้เขา ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง บางครั้งเขาอาจหยิบของเล่นขึ้นมาพินิจพิจารณาดูใกล้ๆ หากมีอะไรวางบังอยู่ใต้ผ้า ทารกจะเปิดผ้าออกดูด้วยความสงสัย
อายุ 10 เดือน : ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน : ทารก จะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่ ทารกจะเริ่มส่งเสียงดัง เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
อายุ 12 เดือน : เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น เด็กจะเริ่มรู้จักคำสั้นๆ ง่ายๆ เช่น ขวดนม อาบน้ำ ลูกบอล ดื่มน้ำ ถึงอายุนี้ลูกควรพูดคำแรกได้แล้ว
การมองลูก
คุณควรเอาหน้าเข้าไปจ่อใกล้ๆ ลูกให้เขาได้เห็นคุณตั้งแต่ช่วง 2-3 วันแรก การที่แม่และลูกได้ส่งสายตามองกันและกันเป็นสิ่งสำคัญมาก หนึ่งในสิ่งที่ทารกมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยตั้งแต่วันแรกในชีวิต คือ ใบหน้าของมนุษย์ ทารกเกิดใหม่จะเห็นสิ่งที่เข้ามาใกล้ในระยะ 20-25 เซนติเมตรเท่านั้น คุณจึงควรขยับตัวเข้าไปใกล้ๆ เขา และทำอะไรบางอย่าง เพื่อดึงความสนใจของทารกมาที่ใบหน้าคุณ เช่น ขยับศีรษะพูด เลิกคิ้ว และที่สำคัญคือยิ้มตลอดเวลาและสบตาลูก จากการศึกษาพบว่าแม่ที่จ้องมองใบหน้าของลูก สบตาลูก ขณะที่ป้อนนมหรือเล่นกับเขา มีแนวโน้มที่จะไม่ใช้วิธีตีลูกเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น และลูกที่มีแม่เช่นนั้นมักจะรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีเมื่อ เขาโตขึ้นในอนาคต นั่นคือ สร้างฐานอีคิวที่ดีนั่นเอง


การพูดคุยกับลูก
ทารกจะสื่อสารกับคุณครั้งแรกด้วยการใช้รอยยิ้มวิธีที่คุณใช้พูดคุยกับลูกอาจ เป็นดังนี้คุณยื่นหน้าเข้าไปใกล้ๆ ลูกระยะประมาณ 20-25 เซนติเมตร จากใบหน้าของเขาแล้วพูดคุยเรื่องอะไรก็ได้ให้ลูกฟังด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ทารกจะเห็นว่าคุณมีท่าทีเป็นมิตร ทารกทุกคนมีสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ที่จะตอบกลับด้วยความเป็นมิตรเช่นกัน ดังนั้นเขาจึงยิ้มตอบ คุณรู้สึกดีใจที่เขายิ้มให้จึงยิ่งยิ้มให้เขามากกว่าเดิมอีก คุณอาจหัวเราะโอบกอดและหอมแก้มเขา ทารกชอบสิ่งเหล่านี้ เขาจึงยิ้มอีกเพื่อทำให้คุณพอใจ แล้วคุณก็ยิ่งพยายามทำให้เขามีความสุขมากกว่าเดิมอีก วนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างนี้
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และทารกก็คือ ทารกได้เรียนรู้ข้อเท็จจริง 2 ประการ ประการแรกเมื่อเขาส่งยิ้มไป ก็จะได้รับยิ้มตอบ และบางทีอาจได้คืนมากกว่านั้นอีก เช่น ได้คำชม มีคนกอดเขาตอบ ประการที่สอง คือ ทารกได้เรียนรู้วิธีทำให้คุณพอใจและวิธีสร้างความสัมพันธ์กับคุณ เขาได้รู้ว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการนี้ได้อย่างไร และจะนำวิธีนี้ไปใช้กับคนอื่นๆ ด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าทารกที่ยิ้มเก่งคือทารกที่ฉลาดเพราะพฤติกรรมนี้แสดงให้ เห็นว่าทารกได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง คือ ถ้าเขายิ้มใครต่อใครก็จะชอบเขา และชีวิตจะมีความสุขยิ่งขึ้น ดังนั้น คุณจึงควรช่วยให้ลูกได้มีจุดเริ่มต้นที่ดีในการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกที่อยู่ รอบๆ ตัวเขา
การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
เด็กๆ ชอบหนังสือ และชอบดูหนังสือตั้งแต่เล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพ่อหรือแม่พลิกหนังสือไปทีละหน้าพร้อมๆ กับเขาและอ่านข้อความในหนังสือให้ฟังดังๆ การที่ได้อ่านหนังสือด้วยกัน เป็นโอกาสที่คุณจะได้สอนลูกเกี่ยวกับเรื่องสี ตัวหนังสือและสำหรับเขาน้ำเสียงของคุณก็ช่างอ่อนโยนน่าฟังเหลือเกินในที่สุด คุณอาจจะพบว่าการอ่านหนังสือก่อนนอนพร้อมกับลูกเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก และช่วยผ่อนคลายจิตใจหลังจากที่ผ่านอะไรๆ มาทั้งวัน ที่ดีไปกว่านั้น คือ ในภายหลังลูกอาจจะอยากดูหรืออ่านหนังสือเองโดยลำพัง ซึ่งนอกเหนือจากจะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เขาในช่วงนี้แล้ว ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่เขาจะหาความสุขได้ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของชีวิตอีก ด้วย การที่ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากหนังสือตั้งแต่วัยเยาว์นั้นนับเป็นสิ่งที่ประมาณค่าไม่ได้ ยังเป็นกิจกรรมที่ดีที่จะไม่ทำให้ลูกไปติดทีวีเมื่อโตขึ้น
ขอแนะนำให้คุณเริ่มจากการซื้อหนังสือปกแข็งที่ทนทาน และข้างในมีรูปภาพสีสันสดใสให้ลูกก่อน ถ้าอยากให้มีอะไรแปลกๆ ให้ลูกบ้าง ก็ควรซื้อหนังสือที่เมื่อกางออกมาแล้ว มีภาพต่างๆ ตั้งขึ้นมาในลักษณะ 3 มิติแต่คุณต้องทำใจไว้ก่อนล่วงหน้า ว่าลูกจะยังไม่รู้จักการถนอมหนังสือพวกนี้เพราะเขายังเด็ก
ช่วงเรียนรู้ได้รวดเร็ว
อัตราการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคงที่ บางช่วงพวกเขาจะมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ในช่วงดังกล่าวเด็กจะมีความคิด ทักษะใหม่ๆ อยากรู้อยากลองทำไปเสียทุกอย่าง อย่างไรก็ดี อาจเกิดกรณีเรียนรู้ของใหม่และลืมของเก่าไปบ้างขออย่าได้วิตกกังวล เพราะการหลงลืมนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น เด็กจะต้องใช้สมาธิมากในการเรียนรู้ทักษะใหม่เมื่อเขาเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ แล้วความรู้ความสามารถเดิมๆ ที่จะหายไปจะกลับมา
ช่วงที่เด็กมีพัฒนาการรวดเร็ว ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะชักนำให้เขาพบกับสิ่งใหม่ๆ เพื่อเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ ในช่วงที่สติปัญญาของเขามีความพร้อมอย่างเต็มที่และในเวลาเดียวกัน หากเด็กมีกิจกรรมที่เขาโปรดปราน ก็ควรให้โอกาสเขาทำสิ่งเหล่านี้บ่อยๆ ด้วย พ่อแม่ไม่ควรไปจำกัดโลกทัศน์และประสบการณ์ของเด็ก โดยการเป็นผู้เลือกสิ่งต่างๆ ให้เขามากจนเกินไป ควรปล่อยให้ลูกได้เห็นอะไรกว้างๆ และให้เขาเป็นผู้เลือกเองว่าชอบอะไร แล้วเรียนรู้ในสิ่งที่เขาพอใจ
หลังจากช่วงที่เด็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วผ่านไป

การ เรียนรู้ของเขาจะเริ่มช้าลงขอให้ใช้ช่วงเวลานี้เป็นเสมือนการหยุดพักทบทวน สิ่งที่เรียนรู้มาและเตรียมให้เด็กก้าวเข้าสู่ช่วงการมีพัฒนาการอย่างรวด เร็วในครั้งต่อไปสิ่งที่คุณควรทำคือฝ่ายช่วยเขาทบทวนทักษะต่างๆ โดยอาจชวนให้ลูก “ร้องเพลงที่เคยร้องกันอีกครั้ง” หรือ “ลองมาเล่นจับตัวหมุดลอดลงรูกันอีกครั้ง”
ปล่อยให้ลูกเป็นฝ่ายชี้นำ
ครูที่ดีคือครูที่คอยแนะแนวทางให้เราพัฒนาตัวเองและใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้ มากที่สุดโดยเน้นจุดดีและลบจุดด้อยที่มีอยู่ เมื่อคุณเป็นครูของลูกคุณก็ต้องพยายามดึงจุดเด่นของเขาออกมาใช้ให้มากที่สุด และช่วยพัฒนาจุดด้อยของเขาให้ดีขึ้น คุณมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือลูกเมื่อเขาต้องการ โปรดจำไว้ว่าการให้ความช่วยเหลือจะไม่มีคุณค่าใดๆ เลยหากผู้ที่ถูกช่วยเหลือไม่ต้องการหรือไม่ชอบที่คุณทำเช่นนั้นคุณจึงต้อง ช่วยลูกให้ถูกวิธี และไม่ล้ำเส้นจนกลายเป็นการบงการเขา เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งที่เขาสนใจ ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการให้เขาสนใจ ดังนั้นคุณจึงควรปล่อยให้ลูกเป็นฝ่ายชี้นำว่าเขาต้องการจะไปในทิศทางไหน เปรียบเทียบง่ายๆก็คือคุณหยิบเมนูอาหารส่งให้ลูก แต่ปล่อยให้เขาเลือกอาหารที่ต้องการรับประทานด้วยตนเอง
 
การเรียนรู้ 1-2 ขวบ
ในช่วงขวบปีแรก ทารกจะเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการควบคุม และการฝึกใช้ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเรียนรู้วิธีคลาน วิธียืน และการก้าวเท้าซึ่งในอีกแง่หนึ่งก็คือการเริ่มพึ่งพาตนเองได้เด็กสามารถจะ เดินมาสำรวจโลกของเขาได้เองโดยไม่ต้องรอให้คุณพาเขาไป เมื่อเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 2 จะเป็นช่วงที่เขาฝึกฝนทักษะการควบคุมร่างกายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ บริเวณมือ ใบหน้า รวมทั้งจะมีการพัฒนาด้านสติปัญญาครั้งสำคัญ
คือเด็ก สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เขาคิดออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มี ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาให้ คุณได้รับรู้ และเมื่อถึงจุดนี้ทารกจะรู้สึกว่าเขาสามารถเป็นใครอีกคนหนึ่งที่แยกจากคุณ ได้ เขาเริ่มตระหนักถึงตัวตนของเขาเอง และเมื่อทารกถึงช่วงเวลานี้เขาจะหงุดหงิดมากมักร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง เพราะอยู่ระหว่างความไม่แน่ใจที่จะเป็นตัวของเองหรือการกลับไปเป็นเด็กที่ ต้องพึ่งพาคุณ สิ่งที่เด็กต้องการอย่างยิ่งคือ ความรักและดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งความเข้าใจจากคุณ ให้เริ่มฝึกฝนความเชื่อมั่นที่จะทำอะไรๆ ได้ด้วยตนเอง
พัฒนาการทางสติปัญญา
12 เดือน : ทารก ชอบดูรูปภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ และชอบทำตลกให้คุณหัวเราะ เขารู้ว่าต้องยกแขนขึ้นเมื่อคุณจะสวมเสื้อให้ รู้ความหมายของคำสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยๆ เช่น รองเท้า ขวดนม อาบน้ำ รวมทั้งเขาอาจจะพูดอะไรได้สักคำสองคำ
15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
การเรียนรู้และการพูด

การพูดเป็นทักษะด้านสติปัญญาที่สำคัญที่สุดที่เด็กจะได้เรียนรู้ หากเด็กไม่สามารถสื่อสารได้ การเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ต่อไปก็จะเป็นไปโดยลำบาก หรือมิฉะนั้นอาจถึงกับเป็นไปไม่ได้ การหัดพูดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่รอด และเด็กก็จะเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าเขาจะต้องสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อความ อยู่รอดของตนเอง
การสื่อสารในช่วงแรกของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นเป็นคำพูดหากแต่เป็นเสียงร้องไห้ การสื่อสารที่มีต่อกันระหว่างแม่ลูกมักเริ่มจากการยิ้ม และในเวลาต่อมาอาจใช้การโครงศีรษะเข้าช่วย คุณอาจสังเกตว่าลูกพยักหน้าให้เมื่อเขาต้องการบอกขอบคุณ เมื่อเด็กโตขึ้นเล็กน้อย เขาอาจไปยืนอยู่ใกล้ๆ สิ่งที่ต้องการและตะโกนเรียกความสนใจจากคุณ  จากนั้นเขาจะหันไปชี้ของที่อยากได้ บทเรียนขั้นต้นเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กรับรู้ว่าชีวิตเขาจะง่ายขึ้นกว่านี้มาก หากสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ด้วยภาษาที่ทุกคนเข้าใจ และใช้คำพูดแทนการทำกิริยาท่าทาง
เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้เรื่องภาษา เขาจะได้เรียนรู้เรื่องของสิ่งต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้คนรอบตัวไปพร้อมๆ กันด้วย บ่อยครั้งที่เด็กพยายามเดาความหมายของคำจากประโยคที่เขาได้ยินโดยรวมและน้ำ เสียงที่ผู้พูดใช้ เวลาเด็กใช้คำเรียกอะไร มักเป็นคำที่เขาต้องการใช้แทนความหมายของคนหรือสิ่งของที่กว้างๆ กว่าที่ผู้ใหญ่กำหนดขึ้นมาใช้กัน เช่น เด็กอาจะเรียกผู้ชายทุกคนที่เขาพบว่า “พ่อ” เพราะเด็กรู้จักคำว่าพ่อจากการอยู่กับผู้ชายที่เขารักที่บ้าน
แต่ เด็กยังไม่เข้าใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับผู้ชายคนนี้ เด็กอาจเรียกผลไม้ทุกชนิดที่เจอว่า ม้าม่วง (มะม่วง) เพราะนั่นคือผลไม้ชนิดแรกที่เขารู้จัก อย่างไรก็ดี ในที่สุดเด็กจะสามารถแยกรถยนต์ออกจากรถบรรทุกได้ หรือแยกสุนัขออกจากแมวได้ แม้ว่าตัวจะพอกัน รูปร่างคล้ายกันและมีหางเหมือนกันหากคุณสอนให้เขารู้จักสิ่งเหล่านี้ซ้ำๆ
การพูดคุยกับลูก
โปรดพูดคุยกับลูกให้มาก เมื่อเด็กต้องการอะไรสักอย่างหนึ่งคุณควรบอกเขาว่าคุณเข้าใจที่เขาพูดและหา สิ่งนั้นมาให้พร้อมกับเรียกชื่อสิ่งของนั้นให้เขาฟังชัดๆ อย่าพูดกับลูกโดยไม่มองหน้า เพราะเขาต้องการความสนใจจากคุณ ขอให้หยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่และตั้งใจฟังเขา ในช่วงแรกเด็กจะยังไม่เข้าใจความหมายบางคำทุกคำ แต่เขาจะพยายามเดาเอาจากประโยคทั้งหมดดังนั้นคุณจะต้องพยายามช่วยให้เขาเดา เรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เมื่อถึงเวลาเข้านอนในตอนกลางคืน สองคนแม่ลูกควรช่วยกันเก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อยเดินไปที่ประตูห้อง นั่งเล่น แล้วพูดว่า “ได้เวลานอนแล้วลูก” จากนั้นก็จับมือเขา พาเดินไปหัวนอน แม้เด็กจะไม่รู้จักคำพูดที่คุณใช้สักคำ เขาก็จะเข้าใจความหมายได้ว่าคุณจะให้เขาทำอะไร
คุณจะเป็นผู้ช่วยเหลือลูกได้มากในช่วงที่เขาหัดพูด เด็กชอบฟังเสียงสูงๆ ต่ำๆ ของคำพูดและเขาก็ชอบให้คุณให้คุณสนใจเขาด้วยเช่นกัน พยายามนำเสนอทั้ง 2 สิ่งนี้แก่ลูกบ่อยๆ

ทุก ครั้งที่คุยกับเขาอย่าลืมสบตาเขาคุณอาจแสดงสีหน้าและท่าทางที่มากเกินปกติ สักหน่อยเพื่อเน้นให้ลูกเข้าใจสักหน่อยเพื่อเน้นให้ลูกเข้าใจความหมายของแต่ ละคำที่กล่าวออกมานอกจากนี้ยังอาจใช้น้ำเสียงและการกระทำประกอบคำพูดด้วย เช่น เมื่อกล่าวว่า “ได้เวลาอาบน้ำแล้วนะลูก” ก็ให้เดินเข้าไปในห้องน้ำแล้วเปิดก๊อกน้ำเลยหรือเมื่อบอกว่า “มาหวีผมกันเถอะ” ก็ให้หยิบหวีขึ้นมาหวีผมให้ลูกทันทีเป็นการทำให้เด็กเรียนรู้รูปธรรมของสิ่ง รอบตัวไปกับทักษะทางภาษา
การเรียนรู้และการเล่นสนุก
สำหรับเด็กแล้ว การเล่นสนุกก็เปรียบเหมือนการได้เรียนรู้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยสำหรับเขา ขณะที่เด็กกำลังจะเล่นอยู่เขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปพร้อมๆ และมีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้น การเล่นสนุกช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในหลายทาง ดังนี้
ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการใช้มือให้ดีขึ้น ไม่ว่าเขาจะเล่นเกมเอากล่องมาซ้อนกันเป็นตึกสูง หรือการเล่นต่อจิ๊กซอว์ ตักทราย เก็บใบไม้ คุ้ยเขี่ยดิน เมื่อโตขึ้นอีกนิด กิจกรรมเหล่านี้สอนให้เด็กควบคุมมือตนเองสำหรับทำอะไรๆ ที่เขาต้องการและเมื่อโตขึ้นเขาก็จะใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาศัยความละเอียดอ่อนหรือทักษะมากกว่าเดิม นั่นคือ การเล่นเป็นพื้นฐานของการฝึกทำงาน

การเล่นกับเด็กคนอื่นๆ สอนให้เด็กเข้าใจความสำคัญของการเข้าสังคมกับผู้อื่น การให้เพื่อนมาที่บ้านช่วยให้เด็กลดความขี้อายและรู้จักการแบ่งปัน สอนให้เขาแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ รวมทั้งสอนให้เขารู้จักควบคุมอารมณ์โกรธ และพฤติกรรมต่อต้านสังคม นอกจากนี้ หากเด็กมีเพื่อนสนิทเขาก็จะได้เรียนรู้ที่จะรักคนอื่น เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และรู้จักนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่นบ้าง
เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและการพูดคุยขณะที่เขาเล่น โดยเฉพาะถ้าเขาจะพูดกับเด็กคนอื่นขณะที่กำลังง่วนอยู่การเล่นที่ต้องใช้ สมาธิ หรือความคิดสร้างสรรค์ การพูดคุย จะยิ่งทำได้ยากกว่าเดิม เพราะเด็กจะต้องรวบรวมความคิดที่มีเกี่ยวกับเกมและถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดที่ จะทำให้เพื่อนเข้าใจได้
การเล่นสนุกจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญาทางด้าน ร่างกายนั้นเด็กจะได้ฝึกฝนให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานร่วมกันในขณะที่เขาวิ่ง กระโดด ปีน และโหนตัว นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและได้พัฒนาประสาทการมองและการฟัง เสียง รวมทั้งเข้าใจมิติต่างๆ อีกด้วย
การเล่นที่เหมาะสำหรับเด็ก
สำหรับเด็ก แล้วการเล่นและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กันไปได้ ดังนั้นคุณจึงควรให้เขาเล่นเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการต่างๆ ให้ดีขึ้นและเหมาะกับอายุในแต่ละช่วง ลูกทั้ง 4 คนของดิฉันในช่วงที่เป็นเด็กเล็กจะชอบเล่นกับน้ำมาก ไม่ว่าการเล่นน้ำในสระเล็กๆ หรือการเล่นรองน้ำที่ไหลจากก๊อกใส่ภาชนะต่างๆ ในบ้าน น้ำเป็นสิ่งที่เสริมสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ให้แก่เด็กได้เป็น อย่างดีเพราะน้ำมีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น น้ำทำให้ของต่างๆ เปียก น้ำไหลได้ นำมาใส่ภาชนะต่างๆ ก็เปลี่ยนรูปไปตามภาชนะนั้นได้ เข้าออกได้ มีฟองลอยบนผิวน้ำได้ สิ่งของบางอย่างเมื่อใส่ลงในน้ำอาจจมได้ น้ำอาจเปลี่ยนสีได้เมื่อใส่ผักบางชนิดลงไป ถ้าก๊อกรั่วจะมีหยดน้ำหยดลงมา และอุ้งมือของเรามักจะเก็บไว้ไม่อยู่ เป็นต้น
การเล่นดินน้ำมันเป็นสิ่งที่เหมาะกับเด็กเช่นกัน เด็กจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะดินน้ำมันเอามาปั้นเป็นรูปต่างๆ ได้ และคงอยู่ในรูปเช่นนั้นไว้ หรือถ้าอยากปั้นอย่างอื่นก็สามารถเอามาปั้นเป็นก้อนกลมๆ และทำให้เป็นรูปเป็นร่างอื่นต่อไป
ทรายเป็นวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่น่าเรียนรู้ เพราะเป็นของที่อยู่ตรงกลางระหว่างของแข็งและของเหลว เมื่อจับทรายจะรู้สึกว่าเป็นเม็ดมันแข็ง แต่ก็สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามภาชนะที่ใส่ เมื่อทรายนั้นเปียกเราอาจจะตักทรายอัดใส่ให้แน่นเมื่อคว่ำออกมา ทรายก็สามารถคงรูปร่างเหมือนกระป๋องนั้นไว้ได้ และทรายกองนั้นก็อาจทลายลงมาได้เมื่อมันแห้งลง

สิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ในช่วงขวบปีที่ 2 คือ การแยกประเภทของสิ่งต่างๆ โดยเริ่มมองเห็นความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งของ คุณอาจสร้างเสริมการเรียนรู้ในลักษณะนี้แก่เด็กได้โดยใช้ของเล่นเป็นสื่อ เช่นอาจมีชุดตุ๊กตาเล็กๆ ของฟาร์มปศุสัตว์ให้ลูกเล่น ในชุดของเล่นอาจประกอบด้วย ม้า วัว และไก่ ทำให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสัตว์เหมือนกัน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพวก คุณควรช่วยอธิบายความเหมือนและความต่างให้ลูกฟังและเรียกชื่อสัตว์สิ่งของ ต่างๆ ให้เขาฟังซ้ำๆ เวลาแยกประเภทให้ดู และอาจนำการสอนแบบนี้ไปใช้กับเรื่องผลไม้ รถ และสิ่งของอย่างอื่นได้อีกและอย่าลืมถ้ามีโอกาสต้องพาไปดูของจริงด้วย
เด็กจะชอบเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายในบ้านเขาจะได้เรียนรู้อะไรอีกมากมาย หากคุณยอมให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย คุณอาจให้เขาช่วยตักแป้งอบขนมให้ ให้เขายกจานที่รับประทานแล้วนำมาไว้ที่อ่างล้างจาน รวมทั้งหาแปรงปัดกวาด และที่โกยผงอันเล็กๆ ให้เขาช่วยคุณทำความสะอาดบ้าน
คุณอาจจะเอาเสื้อผ้า เครื่องแบบ หมวก และรองเท้าที่ไม่ใช้แล้วมาเก็บไว้ในกล่องใหญ่ๆ สักใบหนึ่งเอาไว้ให้ลูกใส่เล่น เด็กส่วนใหญ่จะสนุกกับการเล่นแต่งตัวเลียนแบบผู้อื่น และสิ่งที่นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับเขาเพราะเด็กจะเริ่มรับรู้ว่าในโลกนี้ยัง มีคนอื่นๆ อยู่ด้วยอีกมากและเขาจะต้องพบเจอกับคนเหล่านั้น แนวคิดดังกล่าวจะเป็นที่เข้าใจได้สำหรับเด็ก หากคุณเริ่มจากการให้เขาเล่นแต่งตัวเลียนแบบคนอื่น
เด็กๆ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงต่างก็ชอบตุ๊กตา ตุ๊กตาเป็นเสมือนเพื่อนในจินตนาการของพวกเขา และช่วยให้เขาสร้างโลกส่วนตัว

ใน ขณะที่เด็กเล่นกับตุ๊กตาเขากำลังเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ไปด้วย โดยปฏิบัติกับตุ๊กตาราวกับมันเป็นสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะพูดคุยด้วย แต่งตัวให้ พาไปนอน และหอมแก้มก่อนบอกราตรีสวัสดิ์ อันที่จริงการกระทำเหล่านี้เป็นการเลียนแบบสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ กับชีวิตของเด็ก เขาพยายามจะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้ และเชื่อมโยงการกระทำดังกล่าวกับผู้คนที่อยู่รอบข้าง
ก่อนที่เด็กจะเขียนหนังสือได้หรือวาดรูปได้ เขาจะเริ่มจากการจับไม้มาขีดเขียนบนพื้นดิน หรือหยิบดินสอสีต่างๆ ขึ้นมาขีดๆ เขียนๆ เล่นเสียก่อน ควรหาชอร์คสี กระดานดำ และขาตั้งขนาดสูงเท่ากับตัวเด็กมาไว้ใช้ที่บ้าน เพราะเขาจะได้วาดๆ ลบๆ ได้ตามใจชอบ นอกจากนี้คุณอาจหากระดาษแผ่นใหญ่มาวางไว้ติดที่ขาตั้ง และซื้อสีเทียนหรือสีชอร์คมาให้เด็กวาดภาพระบายสี ถ้าคุณไม่อยากซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ คุณก็สามารถทำขึ้นมาใช้เองได้ การระบายสีลงบนตัวของเด็กเองก็เป็นเรื่องน่าสนุกเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเพื่อนๆ มาร่วมเล่นด้วย
เด็กส่วนใหญ่ชอบเสียงเพลงและชอบให้คุณร้องเพลงให้เขาฟังตั้งแต่ช่วงแรกเกิด เด็กหลายๆ คนฮัมเพลงโปรดของตัวเองได้เป็นเวลานานก่อนที่จะพูดได้ด้วยซ้ำ เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นคุณอาจซื้อเครื่องดนตรีที่เป็นของเล่นเด็กให้ เช่น เปียโน นิ้งหน่อง หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ เพื่อให้เขาได้เล่นดนตรีตามแบบพวกเขาเอง คุณอาจช่วยกระตุ้นให้เขาเล่นด้วยการร่วมร้องรำทำเพลงไปด้วย ซึ่งก็จะทำให้ลูกรู้สึกสนุกสนานยิ่งขึ้น
วิธีที่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีที่สุด คือ คุณควรร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับเขาด้วย และอาจช่วยให้คำแนะนำและแสดงให้เขาดูว่าจะทำกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง และจะต้องทำอย่างมีศิลปะไม่ให้ลูกรู้สึกว่าคุณเข้ามายุ่งก้าวก่ายกับเขามาก เกินไป เกมที่ลูกเล่นมักจะต้องมีคนเล่นด้วย คุณจึงควรช่วยเล่นกับเขา เมื่อคุณว่าง และร่วมเล่นไปจนกว่าเขาจะไม่ต้องการคุณเวลาเล่นควรปล่อยให้ลูกนำ เขาอาจจะอยากให้คุณช่วยตักทรายใส่กระป๋องให้คุณไม่ควรจะช่วยเขาจับกระป๋อง ทรายคว่ำทำเป็นบ้านเด็ดขาด เพราะนั่นคือส่วนที่สนุกที่สุดที่เขาอยากทำเอง

ลูกของคุณอาจเริ่มมีช่วงสมาธิยาวขึ้น แต่เขาอาจจะยังมีปัญหาเรื่องสมาธิอยู่บ้างถ้าต้องทำสิ่งที่ยากเกินไป ในกรณีนี้ควรช่วยลูกโดยแสดงให้ดูว่าควรทำอย่างไร และตั้งเป้าหมายให้เขารวมทั้งคอยให้กำลังใจลูกด้วยลูกอาจทำอะไรหลายๆ อย่างไม่ได้ หากขาดกำลังใจจากคุณ แต่เมื่อเขาทำสำเร็จเขาก็จะรู้สึกว่าเป็นความภูมิใจอย่างสูง
การให้ลูกเล่นคนเดียว
พ่อแม่หลายรายคิดผิดว่าควรให้ลูกเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดเวลาที่เขาตื่น ก็คือ เขาควรจะสามารถนั่งเล่นอะไรได้เงียบๆ คนเดียว บ่อยครั้งที่เด็กอยากนั่งเล่นคนเดียว ตัดสินใจเองว่าจะเล่นอะไรไปนานสักเท่าไร ควรปล่อยให้เขานั่งเล่นเองไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่ต้องทำสิ่งที่ยากจนทำไม่ได้ และหันมาขอความช่วยเหลือจากคุณ หากเขาไม่ได้ร้องขอไม่ควรเข้าไปยุ่งเพราะจะทำให้เด็กหมดสนุกจนเลิกเล่นไปเลย และไม่ได้เห็นว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้น เมื่อสร้างเป็นรูปเป็นร่างแล้วจะออกมามีหน้าตาอย่างไร ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่ได้มีประสบการณ์เรื่องความภาคภูมิใจกับความสำเร็จของตัว เองอย่างที่เขาควรจะมี
ความเข้าใจผิดอีกประการหนึ่ง คือ คนทั้งหลายมักคิดว่าเด็กจะต้องเล่นของเล่นเสมอ ในความเป็นจริงแล้วเด็กสามาให้ทำกิจกรรมได้มากมายหลายอย่างโดยไม่ต้องใช้ของ เล่นเลย เช่น การไปออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ปีนเนินเตี้ยๆ วิ่งเล่นตีแบด เล่นบอล สร้างแคมป์จากกิ่งไม้และใบไม้ ตักน้ำใส่ลงในหลุมทราย เก็บก้อนกินหรือเปลือกหอยเล่น เป็นต้น และคุณควรปล่อยให้ลูกเล่นไปตามประสาของเขาให้เขามีความเป็นตัวของตัวเอง หากไม่หัดให้เขาอยู่ได้โดยลำพังบ้าง ลูกจะรู้สึกแย่มากในเวลาที่คุณไม่อยู่ และอาจนำไปสู่พัฒนาการถดถอย หรือการทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเขาเอง เป็นต้น
ดังนั้นคุณควรพอใจ เมื่อลูกมีความเป็นตัวของตัวเองและเขาไม่ได้ต้องการพึ่งพาคุณตลอดเวลา รวมทั้งมีความสุขได้ในยามที่ต้องเล่นอยู่คนเดียว
อย่างไรก็ดี เมื่อปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียว คุณเองก็ต้องเตรียมทำใจกับความเลอะเทอะเปรอะเปื้อนที่จะตามมาเอาไว้ด้วยเช่น กัน พยายามป้องกันความเลอะเทอะล่วงหน้าเท่าที่พอจะทำได้ เช่น ถ้าลูกเล่นน้ำให้หาผ้าขนหนูมาปูซับน้ำ ถ้าลูกวาดภาพระบายสีให้เอาผ้าพลาสติกมาปูทับพื้นเอาไว้ ถ้าลูกเล่นปั้นดินปั้นโคลนควรใส่ผ้ากันเปื้อนให้เขา ลูกอาจเล่นจนเลอะเทอะไปถึงข้อศอกหน้าตาและผมเผ้าเปรอะเปื้อน ซึ่งก็ให้คอยล้างออกให้เขาภายหลังและไม่ควรหงุดหงิดกับเรื่องเหล่านี้.
แหล่งที่มาของข้อมูล...นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับที่ 169 ประจำเดือนสิงหาคม 2550